Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1415
|
Title: | ศูนย์เรียนรู้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงนิเวศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบนฐานดิจิทัลชุมชน |
Authors: | เมฆขำ, รศ.ดร.วิทยา |
Issue Date: | 24-Jan-2019 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมศึกษาลักษณะองค์ประกอบการจัดการ ความสมบูรณ์ของลักษณะพื้นฐานและความรู้ความเข้าใจในด้านการท่องเที่ยวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงนิเวศ และเชิงวัฒนธรรมเพื่อหาแนวทางลักษณะรูปแบบการจัดศูนย์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดระนอง และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้า และหาผลกระทบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของลูกค้าของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และสินค้าชุมชนc]และทำการพัฒนาทดลองเว็ปไซต์ต้นแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงนิเวศในจังหวัดระนอง ขอบเขตด้านพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้เลือกสถานที่เก็บข้อมูล คือ แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดระนอง จำนวน 5 อำเภอภายในจังหวัดระนอง ได้แก่ 1. อำเภอเมือง 2. อำเภอกระเปอร์ 3.อำเภอสุขสำราญ 4.อำเภอกระบุรี 5. อำเภอละอุ่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวใช้บริการในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ,ประชาชนในท้องถิ่น สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดระนองจำนวน 400 ราย ขอบเขตด้านเนื้อหา 1) รูปแบบการมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดระนอง 2) ความพึงพอใจของผู้บริโภค และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้า ผลกระทบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และสินค้าชุมชนในจังหวัดระนองจำนวน 201 ราย การพัฒนาทดลองสำหรับใช้ในการพัฒนาต้นแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงนิเวศเป็นการพัฒนาเว็ปไซต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การประชุมกลุ่มเพื่อพัฒนาทดลองต้นแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อคำนวณหาค่าสถิติ ข้อมูลที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย ผู้วิจัยได้นำผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากวัตถุประสงค์นำมาเป็นแนวทางในการเชิญผู้เชี่ยวชาญในการประชุมกลุ่มย่อย แล้วนำเสนอในที่ประชุมหลังจากนั้นได้สรุปผลจากการประชุมเป็นรายประเด็นผลการวิจัยพบว่า
ลักษณะองค์ประกอบการจัดการทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดระนอง โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.94 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับ 4 ลำดับ ดังนี้ 1.องค์ประกอบด้านพื้นที่ประกอบด้วย แหล่งธรรมชาติและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับระบบนิเวศ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 2.องค์ประกอบด้านการจัดการประกอบด้วยการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 3. องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ ประกอบด้วยด้านองค์กรชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 4. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมประกอบด้วย การยกระดับคุณภาพชีวิตและการได้รับผลตอบแทนเพื่อกลับมาบำรุงรักษาและจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62
สรุปองค์ประกอบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ตามลำดับ ดังต่อไปนี้ 1) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมประกอบด้วย การยกระดับคุณภาพชีวิตและการได้รับผลตอบแทนเพื่อกลับมาบำรุงรักษาและจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 2) องค์ประกอบด้านการจัดการประกอบด้วยการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 3) องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ ประกอบด้วยด้านองค์กรชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 4) องค์ประกอบด้านพื้นที่ประกอบด้วย แหล่งธรรมชาติและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับระบบนิเวศ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54
ความสมบูรณ์ของลักษณะพื้นฐานของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดระนองโดยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.05 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ การจัดการกับการท่องเที่ยวคณะใหญ่ในทิศทางและภายใต้รูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อาจจัดเป็น Mass Ecotourism ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ความรู้ความเข้าใจในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในจังหวัดระนองโดยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.42 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจึงให้ความสำคัญในการให้การศึกษาและสร้างจิตสำนึกมากกว่าการให้ความพึงพอใจอย่างไม่มีขอบเขตของนักท่องเที่ยว ดังนั้นจึงเป็นการท่องเที่ยวที่ต้องมีการประสานความเข้าใจกันอย่างเหมาะสมตลอดกระบวนการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63
ลักษณะองค์ประกอบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.13 ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ 1.องค์ประกอบด้านการจัดการเชิงสุขภาพ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 อยู่ในระดับมาก โดยลำดับแรกคือ 1.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรอบแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 2. องค์ประกอบด้านพื้นที่เชิงสุขภาพ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 อยู่ในระดับมาก โดยลำดับแรกคือ การท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องร่องรอยอดีตเป็นหลัก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 3. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมเชิงสุขภาพ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 อยู่ในระดับมาก โดยลำดับแรกคือ การยกระดับคุณภาพชีวิตและการได้รับผลตอบแทนในการมาบำรุงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 4. องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการเชิงสุขภาพ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 อยู่ในระดับมาก โดยลำดับแรกคือ มีการจัดการความปลอดภัยและตามหลักการยศาสตร์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 รองลงมา องค์กรชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมการจัดการที่แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07
ลักษณะพื้นฐานองค์ประกอบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.18 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างเป็นแบบแผนในความคิดตั้งแต่บรรพบุรุษ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ความรู้ความเข้าใจต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.20 ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็รรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปยังแหล่งศาสนาอย่างมีจิตสำนึกมีความรับผิดชอบโดยไม่ก่อให้เกิดการรบกวนหรือทำความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25
ลักษณะรูปแบบการจัดศูนย์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.29 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ มีการดึงเชิงอนุรักษ์ และประเพณีที่โดดเด่นมาจัดกิจกรรมนันทนาการในแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้เยาวชนได้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นทำให้คนรุ่นใหม่มีความเข้าใจในเทศกาลและงานประเพณีต่างๆ ในบ้านเกิด รวมถึงการสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริโภคและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้า โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.91 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นต้องตาต้องใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ด้านราคา โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.53 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพของผลิตภัณฑ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 พบว่าด้านสถานที่จัดจำหน่ายการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวใช้บริการในการซื้อของฝากและของที่ระลึก โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 1.62 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด โดยเรียงลำดับ ดังนี้ สถานที่มีความปลอดภัย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.76 ด้านส่งเสริมการตลาด โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.56 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ มีพนักงานคอยอธิบายรายละเอียดของสินค้าหรือตัวผลิตภัณฑ์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 พบว่า ด้านการบริการหลังการขาย โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 2.79 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับ ดังนี้ มีความรวดเร็วในการใหบริการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 พบว่า ด้านความพร้อมด้านการต้อนรับ การวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวใช้บริการในการซื้อของฝากและของที่ระลึก โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 2.90 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับ ดังนี้ มีความเหมาะสมในการแตงกายของพนักงานค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 รองลงมา มีความกระตือรือรนในการใหบริการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.35 พบว่า ด้านความพร้อมด้านสถานที่จำหน่ายสินค้า โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 2.20 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับน้อย โดยเรียงลำดับ ดังนี้ บรรยากาศโดยรวมและการตกแตงภายในราน สวยงามดึงดูดความสนใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80
ผลกระทบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และสินค้าชุมชนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ด้านการมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การวิเคราะห์ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และสินค้าชุมชน ในจังหวัดระนอง พบว่า ผลกระทบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และสินค้าชุมชน โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 2.30 ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมามีการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษ์ จัดอยู่ในระดับน้อย โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ให้ความสำคัญของการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กับคู่แข่ง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 ด้านการมุ่งเน้นการตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ ในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยรวมและรายด้าน พบว่า ด้านการมุ่งเน้นการการตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ การวิเคราะห์ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และสินค้าชุมชน โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.40 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ให้ความสำคัญหรือมีการประเมินผลการใช้ช่องทางการจำหน่ายค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ด้านการมุ่งเน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ พบว่า ในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยรวมและรายด้าน พบว่า ด้านการมุ่งเน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การวิเคราะห์ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และสินค้าชุมชน โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.53 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ใช้สื่อหรือช่องทางในการประชาสัมพันธ์โดยใช้เทคโนโลยีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของลูกค้า พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และสินค้าชุมชน โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.17 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1415 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|