Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/21
|
Title: | การพัฒนารูปแบบการทาวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการทาวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Authors: | เอกวรรณัง, วิภาวรรณ |
Keywords: | รูปแบบการทาวิจัย ทาวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน |
Issue Date: | 5-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2553; |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดาเนินการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศ ต่อรูปแบบการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และศึกษาประสิทธิภาพของการทาวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายในการดาเนินงานวิจัยประกอบด้วย อาจารย์คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินประสิทธิภาพการดาเนินงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการหาค่าสถิติพื้นฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการทาวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่
เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบ ด้วยแผนปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เริ่มจาก การกาหนดกิจกรรมการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนให้กับนักศึกษา โดยผู้ที่เกี่ยวข้อง (อาจารย์ที่รับผิดชอบด้านการวิจัยในชั้นเรียน) พิจารณาแผน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ชี้แจงแผนการดาเนินงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ สอบเค้าโครงการวิจัย ดาเนินการวิจัย อบรมเชิงปฏิบัติการ สอบวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย คณบดีคณะครุศาสตร์ กาหนดนโยบาย ส่งเสริมสนับสนุน จัดสรรงบประมาณ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ หน้าที่ พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะโครงการ อาจารย์ผู้สอนวิชา วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีหน้าที่เป็นวิทยากร พิจารณาแผนการดาเนินงาน สอบเค้าโครงและสอบรายงานการวิจัย อาจารย์นิเทศทั่วไป มีหน้าที่ตรวจสอบการเขียนรายงานการวิจัย อาจารย์นิเทศก์ประจาแขนง ให้คาปรึกษาเกี่ยวกับ นวัตกรรม เครื่องมือการรวบรวมข้อมูล และแผนการดาเนินการวิจัย ครูพี่เลี้ยง มีหน้าที่เกี่ยวกับ ให้คาแนะนาสภาพปัญหา การใช้นวัตกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. ความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อาจารย์คณะครุศาสตร์ มีความคิดว่า การกาหนดการกิจกรรม เวลาความเหมาะสม และเห็นว่าคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ควรทาความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับรูปแบบในการจัดวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง คิดว่า ตนเองมีความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของครูพี่เลี้ยง เพราะส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์ในการเป็นครูพี่เลี้ยงมาก่อน และด้านบทบาทหน้าที่ เกี่ยวกับการให้คาปรึกษาเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การให้คาแนะนาเรื่องสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน และให้ข้อเสนอแนะ การเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยควรที่จะเข้มงวดมากกว่านี้อีกเล็กน้อย และอาจารย์ควรให้คาแนะนาเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านผลกระทบของการที่นักศึกษากลับมาประชุมที่คณะฯ มีทั้งผู้ที่เห็นว่าไม่มีผลกระทบ มีผลกระทบเล็กน้อย มีผลกระทบมาก โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับการหาครูสอนแทน และเห็นความสาคัญของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ มีประโยชน์ทั้งต่อตัวนักศึกษาเอง นักเรียน ต่อการจัดการเรียนการสอน และผู้ที่เกี่ยวข้อง และเห็นว่าการทาวิจัยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา ความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปได้ดังนี้ นักศึกษาเห็นว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู บุคคลที่นักศึกษาปรึกษาเกี่ยวกับการทาวิจัยได้แก่ ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศประจาแขนง นอกจากนั้นก็ยังมีบุคคลอื่นๆ อาจารย์นิเทศทั่วไป หัวหน้าหมวด เพื่อนๆที่ฝึกสอนด้วยกันและเพื่อนจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ด้านความเหมาะสมของแผนปฏิบัติการทาวิจัย คิดว่าดีที่มีเวลาที่กาหนดไว้ชัดเจนทาให้รู้ว่าจะต้องทาอะไรในช่วงไหนอย่างไร สาหรับด้านคู่มือการทาวิจัย คิดว่า ควรแจกคู่มือให้เร็วกว่านี้ และมีรายละเอียดที่มากกว่านี้ที่สามารถนาไปสู่การปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ครูพี่เลี้ยงให้คาแนะนาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาการวิจัย และเห็นด้วยบางส่วนเพราะว่าครูพี่เลี้ยงบางท่านไม่มีความรู้เรื่องการดาเนินการวิจัยในชั้นเรียนเลย ประเด็นเกี่ยวกับการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี การดาเนินการสอบเค้าโครงการวิจัย เห็นด้วยเพราะ รู้ล่วงหน้าจะได้เตรียมตัว ไม่เห็นด้วยเพราะ เร็วเวลาน้อยไป และเป็นช่วงที่มีภาระเกี่ยวกับการดาเนินการสอบของโรงเรียน ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การได้อบรมเพิ่มเติม และการสนับสนุนจากครูพี่เลี้ยง ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค การดาเนินการวิจัยเป็นเรื่องยาก ไม่มีเวลา บางโรงเรียนอยู่ไกลแหล่งค้นคว้า ประสิทธิภาพของการดาเนินการวิจัย ชื่อเรื่อง นักศึกษาส่วนใหญ่กาหนดชื่อเรื่องไดถูกต้อง ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ส่วนใหญ่ได้แก่ สภาพปัญหาการวิจัยไม่สอดคล้องกับเกณฑ์หรือมาตรฐานตัวชี้วัด การอ้างอิงนวัตกรรมน้อยมาก วัตถุประสงค์การวิจัย คาถามการวิจัย สมมติฐานการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ วิธีดาเนินการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนใหญ่เขียนได้ดี ประเด็นที่ยังมีปัญหาคือ การเขียนนิยามศัพท์เฉพาะที่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่สามารถเขียนในลักษณะของการเขียนเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการได้ การเขียนสรุปผลการวิจัย ใช้วิธีการคัดลอกมาจากบทที่ 1 บทที่ 3 และบทที่ 4 อภิปรายผลการวิจัย ไม่ระบุความสอดคล้องของการวิจัยกับทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะการวิจัยระบุไม่ชัดเจน |
Description: | งานวิจัยงบประมาณภายในมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/21 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|