Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1334
|
Title: | การศึกษาสภาพและปัญหาการทาวิจัยในชั้นเรียน ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Authors: | ภิรมย์รัตน์, กรรณิการ์ |
Keywords: | - - |
Issue Date: | 11-Jan-2019 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561;- |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการทาวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึก
ประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเพื่อ
เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการทาวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จาแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปี
การศึกษา 2560 ประกอบด้วย 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และสาขาวิชาสังคม
ศึกษา จานวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ
เท่ากับ 0.985 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ
one-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาคณะครุศาสตร์มีสภาพและปัญหาการทาวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกาหนดประเด็นปัญหาการวิจัยและด้านการ
ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีปัญหาอยู่ในระดับมาก
2. นักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่มีเพศต่างกันมีสภาพและปัญหาการทาวิจัยในชั้นเรียนโดย
ภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงมีสภาพและ
ปัญหาการทาวิจัยในชั้นเรียนด้านการกาหนดประเด็นปัญหาการวิจัย และด้านการทบทวนเอกสาร
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาหญิงมีปัญหา
มากกว่านักศึกษาชาย
3. นักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่เรียนในสาขาวิชาที่ต่างกันมีสภาพและปัญหาการทาวิจัยในชั้น
เรียนโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามี
ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการกาหนดประเด็น
ปัญหา ด้านการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้านการสร้างนวัตกรรม ด้านการสร้าง
เครื่องมือวิจัย ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผล และด้านการเขียน
รายงานและการนาเสนอผลการวิจัย |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1334 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|