DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2559 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2559 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/819

Title: ความต้องการจาเป็นเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูที่ สอดคล้องกับมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้วิชาชีพครู กรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขา ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี)
Authors: เอกวรรณัง, วิภาวรรณ
Issue Date: 3-Oct-2018
Series/Report no.: งานวิจัย 2559;
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริงของคุณลักษณะความเป็นครูตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 2) เพื่อศึกษาความต้องการจาเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครู ที่สอดคล้องกับมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) ของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 แต่ละสาขา 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูให้กับนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 ก่อนการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ครูพี่เลี้ยงของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จานวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อคาถามตาม มาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) 2) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 จานวน 296 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความต้องการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูตามมาตรผลลัพธ์การเรียนรู้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) และรูปแบบในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูตามมาตรผลลัพธ์การเรียนรู้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้ จานวน ร้อยละ และใช้เทคนิคModified Priority Needs Index (PNIModified ) ในการจัดอันดับความสาคัญของความต้องการจาเป็น ผลการศึกษาพบว่า 1. การศึกษาสภาพความเป็นจริงของคุณลักษณะความเป็นครูตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) จาแนกตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ พบว่า คุณลักษณะความเป็นครูตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวม ได้แก่ ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สาขาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านนี้ ได้แก่ สาขา ภาษาไทย ปฐมวัย วิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ส่วนสาขาสังคมศึกษา คุณลักษณะความเป็นครูตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้าน คุณธรรม จริยธรรม สาหรับคุณลักษณะความเป็นครูตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) ในภาพรวมที่มีค่าเฉลี่ยต่าสุด ได้แก่ ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา และเมื่อวิเคราะห์แยกตามสาขา พบว่า สาขาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านนี้ต่า ได้แก่ สาขา ภาษาไทย ปฐมวัย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ส่วนสาขา วิทยาศาสตร์ทั่วไป และ สาขา คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยของผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ต่าที่สุด 2. การศึกษาความต้องการจาเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครู ที่สอดคล้องกับมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) พบว่า ความต้องการจาเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครู ที่สอดคล้องกับมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) อันดับที่ 1 ได้แก่ คุณลักษณะความเป็นครูด้านทักษะทางปัญญา ที่มีความจาเป็นต้องพัฒนาให้กับนักศึกษาทุกสาขาวิชา อันดับ 2 มี 2 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการจัดการเรียนรู้ และทักษะด้านความรู้ สาขาที่ต้องพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ เป็นอันดับ 2 มี 4 สาขา ได้แก่ สาขา 1)วิทยาศาสตร์ทั่วไป 2)ภาษาอังกฤษ 3) คณิตศาสตร์ 4) สังคมศึกษา สาขาที่ต้องพัฒนาทักษะด้านความรู้เป็นอันดับที่สอง มี 2 สาขา ได้แก่ 1) ภาษาไทย 2)ปฐมวัย3. การศึกษาความต้องการในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูตามมาตรผลลัพธ์การเรียนรู้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) พบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ต้องการพัฒนาตนเองมากที่สุดได้แก่ ทักษะการจัดการเรียนรู้ สาขาวิชาที่ต้องการพัฒนาได้แก่ สาขา ปฐมวัย วิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา รูปแบบการพัฒนาที่ต้องการได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ข้อเสนอแนะ 1. อาจารย์ผู้สอนในคณะครุศาสตร์ควรสอดแทรกทักษะทางปัญญาในการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชา โดยการมอบหมายงานที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาในกับนักศึกษา เช่น การระบุวิธีการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน การทางานเป็นทีม การสร้างสรรค์ผลงานที่เหมาะสมกับสภาพและบริบท 2. คณะครุศาสตร์ ควรปรับหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะทางปัญญา ตามข้อกาหนดของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ) 3. คณะครุศาสตร์ ควรจัดอบรมในหัวข้อการพัฒนาทักษะทางปัญญา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้ มหาลัยวิทยาลัย 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/819
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2559

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ird_091_59.pdfปก48.15 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (1).pdfบทคัดย่อ82.46 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (2).pdfบทคัดย่อ Eng116.47 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (3).pdfกิตติกรรมประกาศ148.71 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (4).pdfบทที่190.34 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (5).pdfบทที่2250.83 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (6).pdfบทที่3133.57 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (7).pdfบทที่4335.89 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (8).pdfบทที่5170.09 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (9).pdfบรรณานุกรม83.07 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (10).pdfภาคผนวก575.86 kBAdobe PDFView/Open
ird_091_59 (11).pdfประวัติ122.2 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback