DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/43

Title: วิเคราะห์รูปแบบการกระจายผลิตผลลิ้นจี่เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ของอาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: สุทธใจดี, วรรณี
Keywords: ผลิตผลลิ้นจี่
ลดต้นทุน
โลจิสติกส์
สมุทรสงคราม
Issue Date: 6-Jun-2015
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2553;
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการกระจายสินค้าที่มีความเหมาะสมสาหรับผลิตผลลิ้นจี่ อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกษตรผู้ปลูกลิ้นจี่ ในพื้นที่อาเภออัมพวา มีตาบลสวนหลวง ตาบลบางช้าง ตาบลบางนางลี่ ตาบลบางแค ตาบลเหมืองใหม่ ตาบลวัดประดู่ ตาบลแควอ้อม และตาบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้วิธีสุ่มจากตารางเลขสุ่ม หลังจากนั้นคานวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Yamane) จานวน 95 คน เก็บรวบ รวมโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าถ่วงน้าหนัก ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรเป็นเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน มีประสบการณ์ในการทาสวนลิ้นจี่ 5-10 ปีมากที่สุด รองลงมา 11-20 ปี ส่วนใหญ่มีเนื้อที่ในการเพาะปลูกตั้งแต่ 1-10 ไร่ มีผลผลิตโดยเฉลี่ยต่อปี 1-3 ตัน ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 50,000-100,000 บาท 2. กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรส่วนใหญ่ขายผลิตผลลิ้นจี่เอง รูปแบบที่เกษตรกรขายเองส่วนใหญ่ขายภายในตาบล ส่วนมากขายผลิตผลลิ้นจี่ผ่านคนกลาง โดยส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงแหล่งผลิต 3. ปัจจัยต่างๆ โดยรวมมีความสาคัญกับกิจกรรมการกระจายผลิตผลลิ้นจี่อยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่า ด้านที่มีความสาคัญกับกิจกรรมการกระจายผลิตผลลิ้นจี่มากที่สุด ได้แก่ ด้านการขนส่ง และด้านบรรจุภัณฑ์ รองลงมา ได้แก่ ด้านการคลังสินค้า 4. ด้านการขนส่ง พบว่า ข้อที่มีความสาคัญกับกิจกรรมการกระจายผลิตผลลิ้นจี่มากที่สุด ได้แก่ ความปลอดภัย รองลงมา ได้แก่ การระบุตาแหน่งการในขนส่ง ระยะเวลาในการจัดส่ง คุณภาพรถขนส่ง ความสะดวกของเส้นทาง และการตรงต่อเวลา ตามลาดับ5. ด้านการคลังสินค้า พบว่า ข้อที่มีความสาคัญกับกิจกรรมการกระจายผลิตผลลิ้นจี่มากที่สุดได้แก่ การจัดเบิก รองลงมาได้แก่ การจัดเก็บ การจัดส่งไปหน้าท่า การรับสินค้า และเคลื่อนย้ายเพื่อการจัดเก็บ ตามลาดับ 6. ด้านบรรจุภัณฑ์ พบว่า ข้อที่มีความสาคัญกับกิจกรรมการกระจายผลิตผลลิ้นจี่มากที่สุด ได้แก่ เป็นสื่อประชาสัมพันธ์สินค้า รองลงมาได้แก่ ดูแลรักษาสินค้า ช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาสินค้า มีความปลอดภัย มีความรวดเร็วในการจัดเก็บและจัดส่ง ประหยัดเวลาในการจัดเก็บและ จัดส่ง และสะดวกสบายในการเคลื่อนย้ายจัดเก็บและจัดส่ง ตามลาดับ 7. วิธีการขนส่ง กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรส่วนใหญ่มีน้าหนักการขนส่งของผลิตผลลิ้นจี่ 1-3 ตัน มากที่สุด ระยะเวลาในการขนส่งผลิตผลลิ้นจี่ 1-3 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวในการขนส่ง 500-1,000 บาท คุณสมบัติของคนขับรถขนส่ง มีระดับการศึกษามัธยมศึกษา มีประสบการณ์ในการขับรถขนส่งผลิตผลลิ้นจี่ คือ น้อยกว่า 1 ปี มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ส่วนมากใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคล ประเภทรถที่ใช้ในการขนส่งผลิตผลลิ้นจี่ ส่วนใหญ่คือ รถกระบะ 4 ล้อ ใช้ระยะทางในการขนส่งผลิตผลลิ้นจี่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร 8. ด้านแรงงาน กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรส่วนใหญ่มีจานวนแรงงานที่ใช้ 1-3 คน ร้อยละ 68.42 เมื่อวิเคราะห์จาแนกตามประเภทแรงงาน ส่วนของแรงงานประจา พบว่าจานวนแรงงานที่ใช้ส่วนมากไม่ได้เป็นแรงงานประจา ส่วนที่ระบุมีแรงงานประจา ส่วนใหญ่มีจานวน 1-3 คน ส่วนของแรงงานชั่วคราว พบว่า ในจานวนแรงงานทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นแรงงานชั่วคราว โดยมีจานวนอยู่ที่ 1-3 คน 9. ด้านการจัดการการผลผลิต กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรส่วนมากจัดการกับผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ ด้วยวิธี ขายต่อในราคาถูก รองลงมา ด้วยวิธีนาไปแปรรูป มากที่สุด มีวิธีการจัดการกับผลผลิตลิ้นจี่ที่เหลือจากการขายด้วยตนเอง คือ การแปรรูปเป็นลิ้นจี่อบแห้ง ปุ๋ยหมัก ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1. การวางแผนพยากรณ์ความต้องการ และกาหนดปริมาณผลผลิตลิ้นจี่ของอาเภออัมพวาในแต่ละปีให้มีปริมาณผลผลิตเพียงพอ และสามารถกระจายถึงผู้บริโภคโดยอย่างทั่วถึง ด้วยการนาระบบโลจิสติกส์มาสนับสนุนเพื่อสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรให้ดีมากยิ่งขึ้น 2. การสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรทั้งระบบด้านการผลิตและในด้านการจัดการต่างๆ ตั้งแต่ โรงคัดบรรจุ GMP และ HACCP การต่อยอดผลผลิตด้วยการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การทาลิ้นจี่ลอยแก้ว โยเกิร์ตลิ้นจี่ แยมลิ้นจี่ เป็นต้น3. ปัญหาในปัจจุบัน คือ มีกลุ่มผู้แอบอ้างนาเอาผลผลิตลิ้นจี่ในพื้นที่อื่นมาวางจาหน่ายในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรสงคราม โดยเฉพาะผลผลิตลิ้นจี่ที่นามาจาหน่ายนั้นไม่มีคุณภาพ เกิดการทาลายชื่อเสียงของลิ้นจี่พันธุ์แท้ของอาเภออัมพวา 4. การรวบรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ในอาเภออัมพวา โดยให้หน่วยงานของภาครัฐเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนเรื่องการกาหนดราคากลางหรือราคาเป้าหมายและการเคลื่อนไหว ด้านราคา รวมทั้งการออกใบรับรองคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตลิ้นจี่ในอาเภออัมพวาเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค 5. การรณรงค์การปลูกลิ้นจี่สายพันธุ์แท้ของอาเภออัมพวา “ลิ้นจี่สามน้า” จากการลงพื้นที่วิจัย ผู้วิจัย พบว่า เกษตรกรบางรายตัดต้นลิ้นจี่สายพันธุ์แท้ทิ้ง เนื่องจากไม่มีผลผลิตลิ้นจี่ให้เก็บเกี่ยว ทางกลุ่มนักวิชาการเกษตรควรลงพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งเน้นการปลูกพืชแบบผสมผสานคือการปลูกพืชชนิดอื่นปะปน เพื่อจะได้มีผลิตผลเก็บเกี่ยวขายทั้งปี แต่ขณะเดียวกันก็ให้เกษตรกรช่วยกันอนุรักษ์ลิ้นจี่สายพันธุ์แท้นี้ไว้คู่กับจังหวัดสมุทรสงครามไว้ด้วย ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. การศึกษาเส้นทางการส่งออกผลผลิตลิ้นจี่ของอาเภออัมพวาไปยังต่างประเทศ 2. ศึกษาการมีส่วนรวมของเกษตรกรในกระบวนการจัดทาใบรับรองคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตลิ้นจี่อาเภออัมพวา 3. การมีส่วนรวมของเกษตรกรในการอนุรักษ์ลิ้นจี่สายพันธุ์แท้ของอาเภออัมพวา
Description: งานวิจัยทุนงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/43
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ird_067_53.pdfปก67.09 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (1).pdfบทคัดย่อ304.39 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (2).pdfAbstract358.19 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (3).pdfกิติกรรมประกาศ340.23 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (4).pdfบทที่ 1673.79 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (5).pdfบทที่ 2321.33 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (6).pdfบทที่ 3529.22 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (7).pdfบทที่ 4352.81 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (8).pdfบทที่ 5311.27 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (9).pdfบรรณานุกรม994.63 kBAdobe PDFView/Open
ird_067_53 (10).pdfภาคผนวก311.99 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback