Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2557 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2557 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/515
|
Title: | ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์พื้นที่ของนก ตําบลคลองโคน อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | เจริญโภคราช, ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิธินาถ |
Keywords: | ความหลากชนิดของนก การใชประโยชนพื้นที่ ตําบลคลองโคน สมุทรสงคราม |
Issue Date: | 19-Sep-2018 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัย 2560; |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิด
อุปนิสัยการหากิน สถานภาพ ปริมาณความชุกชุม ลักษณะกิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ใน
พื้นที่ศึกษา และนําข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่ของชนิดนกมาใช้เป็นแนวทางการรักษาสภาพแวดล้อม
เพื่ออนุรักษ์ความหลากชนิดของนกและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การวิจัยครั้งนี้ใช้การเก็บ
รวบรวมข้อมูลด้วย การสํารวจภาคสนามเกี่ยวกับชนิด ลักษณะกิจกรรมของนก ที่เข้าไปใช้ประโยชน์
ในเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ ตําบลคลองโคน อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม จํานวน 3 เส้นทาง
และการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 - เดือนกรกฎาคม 2557 และวิเคราะห์
ข้อมูลเพื่อหาปริมาณความชุกชุม
ผลการศึกษาจากการสํารวจชนิดนกทั้ง 3 เส้นทาง พบนกจํานวน 35 วงศ์ 73 ชนิด โดย
เส้นทางที่ 1 (ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน – ปากคลองโคน) พบจํานวนชนิดนกมากที่สุด คือ
65 ชนิด ด้านสถานภาพของนก พบนกประจําถิ่น จํานวน 42 ชนิด นกประจําถิ่นและนกอพยพ
จํานวน 11 ชนิด และนกอพยพ จํานวน 20 ชนิด ด้านปริมาณความชุกชุม ในระดับ 5 จํานวน มี
จํานวน 16 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 21.92 ของชนิดนกที่สํารวจพบทั้งหมด ลักษณะกิจกรรมที่เข้ามาใช้
ประโยชน์ในพื้นที่ศึกษา คือ เพื่อการหาอาหาร ประกอบด้วย กลุ่มนกกินแมลงและตัวหนอนของแมลง
กลุ่มนกกินสัตว์อื่น ๆ และสัตว์น้ํา กลุ่มนกกินเมล็ดพืช กลุ่มนกกินน้ําหวานจากดอกไม้ และกลุ่มนกกิน
ลูกปลา กุ้งตัวเล็กตามริมชายคลองและชายเลน ดังนั้น การส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกันสอดส่องดูแลเพื่อ
ร่วมกันอนุรักษ์ป่าชายเลน และการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทํา
ประมงแบบพื้นบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดต้นทุนการผลิต โดยคํานึงถึงความปลอดภัยของ
ผู้บริโภค รวมทั้งรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยหลักพื้นฐาน
ของการประมงพื้นบ้านจะเน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะ
นกจะมีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านการผสมเกสร การแพร่กระจายพันธุ์พืช การกําจัดศัตรูพืช และ
นกเป็นตัวชี้วัดความสมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศในท้องถิ่น |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2557มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/515 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2557
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|