DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/50

Title: การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวที่มี คุณค่าของตาบลท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Keywords: วัฒนธรรม
เส้นทางท่องเที่ยว
ตำบลท่าคา
สมุทรสงคราม
Issue Date: 6-Jun-2015
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Series/Report no.: วงศ์ชะอุ่ม;สุวรรณฤทธิ์
ไพทยวัฒน์;เสาวภา
ปิงแก้ว;ณัฐฐิณีภรณ์
พัฒนพงศ์;ชุติมา
Abstract: การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวที่มีคุณค่าของตาบลท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นงานวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับทุนทางวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดประเภททุนทางวัฒนธรรมที่มีความสาคัญ และเพื่อนาไปสู่การประเมินระดับความสาคัญของทุนทางวัฒนธรรม รวมทั้งเพื่อพัฒนาแนวทางในการสร้างเส้นทางท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมในตาบลท่าคา ประชากรเป้าหมายของงานวิจัยนี้ได้แก่ สมาชิกในชุมชนท่าคา และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวในพื้นที่ท่าคา โดยขนาดของกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยจานวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกด้วยแบบสอบถามและใช้ค่าความถี่ ค่าร้อย และค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ข้อมูล ขณะที่ขนาดกลุ่มตัวอย่างของสมาชิกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในท่าคาจานวน 14 คนใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบอลหิมะด้วยแบบสัมภาษณ์ และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์และการจัดแสดงข้อมูล ผลการวิจัยปรากฏว่า พื้นที่ตาบลท่าคาสามารถแบ่งกลุ่มทุนทางวัฒนธรรมออกเป็น กลุ่มทุนทางวัฒนธรรมด้านอาชีพ กลุ่มทุนทางวัฒนธรรมด้านการตั้งบ้านเรือน และกลุ่มทุนทางวัฒนธรรมด้านศาสนาและความเชื่อ ภาพรวมของทุนทางวัฒนธรรมที่สาคัญหรือมรดกทางวัฒนธรรมของท่าคาประกอบด้วย ตลาดน้าท่าคา การทาน้าตาลมะพร้าว วิถีชีวิตริมน้า บ้านกานันจัน เรือนไทยคุณทวีป เจือไทย วัดเทพประสิทธิ์ วัดมณีสรรค์ และศาลเจ้าแม่ตั้วเนี้ย โดยมีสายน้าเชื่อมโยงทุนทางวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน หลังจากการจัดหมวดหมู่ทุนทางวัฒนธรรมแล้ว ผลการวิจัยจากการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้เกี่ยวข้องในท่าคาแสดงให้เห็นว่าทุนทางวัฒนธรรมที่สาคัญของท่าคาประกอบด้วยคุณค่า 4 ด้านได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านสุนทรียภาพ ด้านวิชาการ และด้านสังคม รวมทั้งแสดงให้เห็นว่าทุนทางวัฒนธรรมของท่าคามีระดับความสาคัญที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณของคุณค่าที่อยู่ในตัวของทุนทางวัฒนธรรม และบทบาทและหน้าที่ของทุนทางวัฒนธรรมที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในท่าคา ขณะที่ผลการวิจัยที่รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 32 ปี หรือมีอายุระหว่าง 20-34 ปี จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา และมีลักษณะสนใจวัฒนธรรม และรูปแบบวิถีชีวิตที่แตกต่าง ผลการประเมินทุนทางวัฒนธรรมที่มีความสาคัญสูงสุดสามลาดับแรก คือ ตลาดน้าท่าคา เรือนไทยบ้านกานันจัน และเรือนไทยบ้านคุณทวีป จากค่าเฉลี่ยรวมของคุณค่าในทุกด้าน และนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้เวลาท่องเที่ยวในท่าคาประมาณ 1-2 ชั่วโมง และสนใจการเที่ยวตลาดน้าท่าคา การนั่งเรือชมวิถีชีวิตริมน้า และการเยี่ยมชมวัดเทพประสิทธิ์ ตามลาดับ จากผลการวิจัยทาให้ได้แนวทางการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของตาบลท่าคาแนวทางที่ได้เสนอแนะดังกล่าวประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพ ทางสังคม ทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณค่า การบริหารจัดการนักท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การเข้าถึง ความเสมอภาค ประสบการณ์ที่น่าประทับใจ และการเรียนรู้ความคาดหวัง และรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวทั้งทางเรือ ทางรถยนต์ แบบผสม รวมทั้งแนวทางการสื่อความหมาย
Description: งานวิจัยทุนงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/50
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ird_077_53.pdfปก113.48 kBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (1).pdfบทคัดย่อ317.94 kBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (2).pdfAbstract298.34 kBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (3).pdfกิติกรรมประกาศ396.06 kBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (4).pdfบทที่ 1345.9 kBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (5).pdfบทที่ 2395.9 kBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (6).pdfบทที่ 3353.3 kBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (7).pdfบทที่ 41.65 MBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (8).pdfบทที่ 51.44 MBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (9).pdfบรรณานุกรม318.12 kBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (10).pdfภาคผนวก809.93 kBAdobe PDFView/Open
ird_077_53 (11).pdfประวัตินักวิจัย352.08 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback