Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/27
|
Title: | ผลของความสอดคล้องของแบบการเรียนกับแบบการสอนที่มีต่อ การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษา |
Authors: | หนูนาค, ทัศนีย์ |
Keywords: | แบบการเรียน แบบการสอน การเรียนรู้อย่างมีความสุข |
Issue Date: | 5-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2553; |
Abstract: | ผลของความสอดคล้องของแบบการเรียนกับแบบการสอนที่มีต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษามีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อวิเคราะห์ลักษณะแบบการเรียนของนักศึกษา และลักษณะแบบการสอนของครู 2)เพื่อวิเคราะห์ระดับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชา 3)เพื่อเปรียบเทียบ ความสอดคล้องระหว่างแบบการเรียนของนักศึกษาและแบบการสอนของครู ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาในสาขาวิชาที่แตกต่างกัน
กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ชั้นปีที่ 1- 5 จานวน 729 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับแบบการเรียนของนักศึกษา แบบการสอนของครูตามแนวคิดของ Grasha และ Riechmann (1975) และความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาตามทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2540) การวิเคราะห์ข้อมูล (1) การวิเคราะห์โดยใช้สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแบ่งระดับของค่าเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณค่า เพื่อวิเคราะห์แบบการเรียนของนักศึกษา แบบการสอนของครู ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา และความสอดคล้องระหว่างแบบการเรียนและแบบการสอนที่มีต่อความสุข และ(2) การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1.นักศึกษาส่วนใหญ่มีแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ แบบการเรียนแบบร่วมมือ แบบอิสระ แบบพึ่งพา แบบแข่งขัน และแบบหลีกเลี่ยงในสัดส่วนที่เท่ากัน และตามลาดับ และนักศึกษาส่วนใหญ่รับรู้ว่าครูส่วนใหญ่มีแบบการสอนแบบผู้เชี่ยวชาญมากที่สุด รองลงมาได้แก่ แบบการสอนแบบผู้เป็นตัวอย่าง แบบผู้อานวยความสะดวก แบบผู้มีระเบียบแบบแผน และแบบผู้ให้อิสระ ตามลาดับ
2.นักศึกษาทุกสาขาวิชามีความสุขในการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกตามสาขาวิชาพบว่า นักศึกษาสาขาวิชาปฐมวัยมีความสุขในการเรียนรู้มากที่สุด และนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์มีความสุขในการเรียนรู้น้อยที่สุด
3.ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละสาขาในกลุ่มที่มีแบบการเรียนสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับแบบการสอนของครู ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 |
Description: | งานวิจัยงบประมาณภายในมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/27 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|