Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2553 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/14
|
Title: | แนวทางการออกแบบร้านค้าและของที่ระลึกเพื่อการพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา : กรณีศึกษาเปรียบเทียบเมืองเก่าพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย และ เมืองเก่าเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น |
Authors: | สมสกุล, จีระศิลป์ |
Keywords: | การออกแบบร้านค้า พระนครศรีอยุธยา เมืองเก่าเกียวโต |
Issue Date: | 4-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2553; |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง แนวทางการออกแบบร้านค้าและของที่ระลึกเพื่อการพัฒนานครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา : กรณีศึกษาเปรียบเทียบเมืองเก่าพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทยและ เมืองเก่าเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบร้านค้าและของที่ระลึก และการวางโซนร้านค้าของที่ระลึกของเมืองเก่าพระนครศรีอยุธยา ที่สอดคล้องกับการพัฒนาแบบบูรณาการเชิงอนุรักษ์และเชิงพาณิชย์(2) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในรูปของร้านค้าและของที่ระลึก การศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็นส่วนข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารต่างๆ และข้อมูลจากภาคสนาม จากการศึกษาสารวจเปรียบเทียบด้วยเพื่อนามาวิเคราะห์คุณค่าทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ การเปรียบเทียบวิเคราะห์ SWOT จากสถานที่จริงและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และการแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1395 ตัวอย่าง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ (1 ) นักท่องเที่ยวชาวไทยจานวน 533 คน (2 ) ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่จานวน 90 คน และ(3) นักท่องเที่ยวต่างประเทศจานวน 739 คน จากการสุ่มตัวอย่างโดยบังเอิญ และตอบแบบสอบถาม เพื่อทราบข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับร้านค้า การจัดพื้นที่ร้านค้า สภาพแวดล้อมร้านค้า การสัญจร ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและและปัจจัยที่มีผลต่อความพอใจและการเลือกผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึก และตอบแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เกี่ยวกับร้านค้าและของที่ระลึกในพื้นที่ทาการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพและร้านค้า กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ควรเพิ่มขนาดพื้นที่กว้างของทางเท้า ควรจัดเป็นถนนคนเดิน ควรกำหนดเส้นทางเดินให้ผ่านกิจกรรมและสถานที่สำคัญ กำหนด ทิศทางการเข้าออกของเส้นทางสัญจร กาหนดชนิดและความเร็วของพาหนะเพื่อเข้าสู่พื้นที่ในแต่ละจุด ควรเน้นการสัญจรโดยการเดินและพาหนะที่จัดให้เช่นรถราง กาหนดเส้นทางสัญจรที่ไม่วกวนและสับสนและมีความต่อเนื่องกัน เรื่องการจัดระเบียบร้านค้า ควรจัดร้านค้าให้สอดคล้องกับเส้นทางเดิน และควรโยกย้ายร้านค้าในส่วนที่กระทบมุมมองของโบราณสถาน จัดกลุ่มร้านค้าให้เหมาะสมกับสถานที่ตั้ง มีการกระจายร้านค้าไม่ให้กระจุกตัวเป็นกลุ่มใหญ่ และควรมีตาแหน่งที่ตั้งใกล้จุดจอดรถ รูปแบบร้านค้าควรมีรูปแบบไทยโบราณ รองลงมาได้แก่ ไทยร่วมสมัย โดยความสูงของร้านค้าอยู่ระหว่าง 1-3 ชั้นหรือไม่เกินยอดปราสาท สาหรับในพื้นที่ด้านในส่วนอนุรักษ์ร้านค้าควรมีความสูง 1 ชั้น วัสดุก่อสร้างร้านค้า สี กราฟิก ลวดลาย ควรเลือกใช้อย่างกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมมากที่สุด สายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ ควรนาลงใต้ดิน หรือ นาลงใต้ดินในจุดที่มีความจาเป็นและกระทบมุมมอง และควรสร้างความร่มรื่นให้กับพื้นที่โดยการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น และอาจจัดให้มีทางเดินที่มีหลังคาคลุมในบางจุด 2. ด้านผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก พบว่าหมวดรูปแบบที่ได้รับความพอใจ/นิยมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หมวดขนมและอาหาร หมวดรูปแบบจากสัตว์สัญลักษณ์และหมวดรูปแบบจากสถาปัตยกรรมและยวดยาน สไตล์ของผลิตภัณฑ์ฯที่ได้รับพอใจ/นิยมสูงสุดได้แก่ สไตล์ไทยประเพณี สไตล์ไทยพื้นบ้าน ปัจจัยที่มีผลต่อความพอใจและการเลือกผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เรียงลาดับจากมากไปน้อยได้แก่ ความสวยงาม สีสันและวัสดุ ความมีเอกลักษณ์ไทย ประโยชน์ใช้สอย รูปร่างแบบแปลกใหม่ ราคาที่เหมาะสม ความละเอียดประณีตของผลิตภัณฑ์ และขนาด-น้าหนักของผลิตภัณฑ์ สาหรับแนวทางการออกแบบร้านและของที่ระลึกฯ สามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆดังนี้ 1. การจัดโซนพื้นที่ที่ทาการศึกษา จะเป็นพื้นสองฝั่งที่ที่เริ่มตั้งแต่จุดตัดของถนน ศรีสรรเพชรญ์กับถนนป่าโทน มาตามแนวถนนนเรศวรจนถึงจุดตัดกับถนนชีกุน ซึ่งเป็นเส้นทางพระราชดาเนินในอดีต กาหนดให้เป็นพื้นที่ส่วนใน ที่ใช้การสัญจรด้วยการเดินเท้าและทางรถรางเป็นหลัก และพื้นที่บริเวณสองฝั่งถนนชีกุนบริเวณ หน้าวัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ เป็นพื้นที่ส่วนนอกที่กาหนดให้เข้าถึงด้วยพาหนะอื่นที่ควบคุมความเร็ว เช่น รถส่วนบุคคล รถประจาทาง ฯลฯ 2. การจัดร้านค้า มีแนวคิดการจัดร้านค้าเป็นย่านการค้าเฉพาะที่มีลักษณะความแตกต่างและสอดคล้องตามทาเลที่ตั้ง ย่านร้านค้าจะเกาะไปตามแนวเส้นทางสัญจรหลักและจุดจอดรถ/สถานีรถราง 3. รูปแบบร้านค้าจะเน้นรูปแบบตามสถาปัตยกรรมไทยที่สอดคล้องกับทาเลที่ตั้ง เช่น เรือนไทย ศาลาไทย แพริมน้า เรือขายของ อาคารพาณิชย์ ฯลฯ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยรวม4. รูปแบบร้านค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ กาหนดจากจากรูปแบบของสถาปัตยกรรมร้านค้าที่แตกต่างในแต่ละที่ตั้ง เสริมด้วยเทคนิคการตกแต่งหน้าร้าน การออกแบบและใช้บรรจุภัณฑ์ การใช้กราฟิก การสร้างสัญลักษณ์และป้ายร้านค้า รวมถึงการออกแบบและนาผลิตภัณฑ์ที่เลือกสรรมาและเชื่อมโยงกับพื้นที่ มาจัดจาหน่าย 5. เอกลักษณ์ของย่านการค้า จากทาเลที่ตั้งและการกาหนดให้มีการวางจาหน่ายผลิตภัณฑ์เฉพาะที่แตกต่างกันในแต่ละย่าน กาหนดให้มีกิจกรรมและการแสดงทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมบรรยากาศในแต่ละย่านเป็นการเฉพาะ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณภายนอก ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/14 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2553
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|