Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/992
|
Title: | แนวทางการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของนักปั่นจักรยาน บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ |
Authors: | อุฑารสกุล, ทัศนาวลัย |
Keywords: | แผนที่จุดเสี่ยง, นักขี่จักรยาน, นักปั่นจักรยาน, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ |
Issue Date: | 22-Nov-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2560; |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องแนวทางการจัดทำแผนที่เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของนักปั่นจักรยานสมัครเล่นบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุนักขี่จักรยานบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (2) จัดทำแผนที่จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุของนักขี่จักรยาน และ (3) จัดทำแนวทางการลดความเสี่ยงของนักปั่นจักรยาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 85 ชุด และแบบสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 76.2 ประเภทของจักรยานส่วนใหญ่เป็นจักรยานเสือภูเขามีจำนวน 37 คัน คิดเป็นร้อยละ 44 นักขี่จักรยานสมัครเล่นมีจำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 71.4 ส่วนใหญ่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุจากการขี่จักรยานบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในช่วงเส้นทางจากด่านปราจีนบุรีถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 89.3 ส่วนผลการศึกษาระดับความคิดเห็นของนักขี่จักรยานสมัครเล่นในด้านปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุพบว่า ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือสภาพเส้นทางโค้งลงเขาอยู่ในระดับเสี่ยงมาก (X‾=3.88, S.D = 0.93) รองลงมาได้แก่เส้นทางลาดชันอยู่ในระดับเสี่ยงมาก (X‾=3.69, S.D. = 0.98) และเส้นทางขึ้นเขาอยู่ในระดับเสี่ยงมาก (X‾=3.63, S.D. = 1.01) ตามลำดับ สำหรับระดับความพึงพอใจของนักขี่จักรยานต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่าสัญลักษณ์บนพื้นผิวถนนชัดเจนโดยมีความพึงพอใจระดับดีมาก (X‾=3.61, S.D. = 1) รองลงมาคือพื้นผิวถนนเหมาะแก่การขี่จักรยาน มีความพึงพอใจระดับดีมาก (X‾=3.54 ,S.D. =1.05) และป้ายเตือนอันตรายมีเพียงพอ (X‾=3.31,S.D. =0.91) สำหรับความพึงพอใจในด้านขนาดความกว้างของเลนจักรยานมีความเหมาะสม (X‾=2.77, S.D. =1.11) ซึ่งนักขี่จักรยานมีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุประกอบด้วย สภาพเส้นทางซึ่งบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงจะเป็นเส้นทางโค้งลงเขา ลาดชัด และมีไหล่ทางแคบ ประสบการณ์ของนักขี่จักรยาน ความประมาท เส้นทางที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยจะเป็นช่วงเส้นทางสายหลักด่านเนินหอม (ปราจีนบุรี) และเส้นทางผาเดียวดาย ศาลเจ้าพ่อเขาเขียว ส่วนการจัดทำแผนที่จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุของนักขี่จักรยานพบว่า บริเวณที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ แอ่งกระทะและโค้งหักศอกเส้นทางลงปราจีนบุรี |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/992 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|