Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2558 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2558 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/566
|
Title: | การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการผลิตที่เหมาะสมของกลุ่ม OTOPบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น |
Authors: | เมฆขำ, อาจารย์ ดร.วิทยา |
Keywords: | - |
Issue Date: | 20-Sep-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจียปี 2560; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะและหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการผลิตที่เหมาะสมของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชากรมีจำนวน 302 ราย โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างและได้กลุ่มตัวอย่างมี จำนวน 134 ราย ใน 6 อำเภอ 52 ตำบล เครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น 4 ตอน ประกอบไปด้วย ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ มีข้อคำถามด้าน สถานภาพส่วนบุคคล ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า มีข้อคำถามด้าน ลักษณะของเทคโนโลยี ตอนที่ 3 เป็นประชุมกลุ่มย่อยFocus group มีข้อคำถามด้านแนวทางการพัฒนา ตอนที่ 4 การสร้างต้นแบบ ผลการวิจัยพบว่า
ด้านสถานภาพของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ทำเป็นอาชีพหลักมากที่สุด จำนวน 103 ราย คิดเป็นร้อยละ76.90 รองลงมาทำเป็นอาชีพเสริม มีจำนวน 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.10 และน้อยที่สุดประเภทวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.50 ประเภทของผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เป็นของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก มากที่สุด จำนวน 56 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.80 รองลงมาได้แก่ ประเภทอาหาร จำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.60 และน้อยที่สุดสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.70
ด้านลักษณะของเทคโนโลยีของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOPกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ต้องการพัฒนาและปรับปรุง เทคโนโลยีการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.18 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ย 1.82 มีค่าอยู่ในระดับน้อย รองลงมา มีปัญหาในการสั่งซื้อวัตถุดิบในการผลิต มีค่าเฉลี่ย 2.95 อยู่ในระดับปานกลาง และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการผลิตกับหน่วยงานอื่น มีค่าเฉลี่ย 1.84 มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ย 1.82 อยู่ในระดับน้อย ในส่วนของมาตรฐานของเทคโนโลยีการการบำรุงรักษาของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.02 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีการตรวจเช็ดอุปกรณ์ก่อนและหลังจากเลิกปฏิบัติงาน 2.67 มีค่าเฉลี่ย 2.67 อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมามีการกำหนดตารางเวลาในการซ่อมบำรุง มีค่าเฉลี่ย 2.13 และมีคู่มือการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงที่ถูกต้องมีค่าเฉลี่ย 1.59 อยู่ในระดับน้อย การประชุมกลุ่มย่อยFocus group พบว่า ผู้ผลิตต้องการพัฒนาและปรับปรุง เทคโนโลยีการผลิต ในด้านกระบวนการผลิตเพราะในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตไม่ค่อยจะได้พัฒนากระบวนการผลิตขาดความสามารถในการบริหารจัดการเนื่องจากคุณภาพสินค้าจากชุมชนไม่สามารถสู้กับคุณภาพสินค้าของกลุ่ม SMEs ได้ ซึ่งพบว่าสินค้า OTOP มีข้อยกเว้นที่ยังไม่สามารถพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่มีอำนาจการ ปัญหาในการสั่งซื้อวัตถุดิบในการผลิตเพราะทรัพยากรในท้องถิ่นหายากจึงวัตถุดิบที่นำมาผลิตนั้นมีราคาแพง ต้นทุนในการผลิตสูงเมื่อออกจำหน่ายสินค้ามีราคาสูงขึ้น จึงได้กำไรน้อยมากบางรายต้องล้มเลิกกิจการไป ทั้งนี้เพราะว่ากลุ่มผู้ผลิตสินค้าไม่มีเงินสำรองในการบริหารจัดการส่วนการประมาณระยะเวลาในกระบวนการผลิตต่อชิ้นงาน ยังไม่ชัดเจนไม่มีระบบ แต่ผู้ผลิตควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อเกื้อกูลระบบนิเวศในท้องถิ่น
แนวทางพัฒนา จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประชุมกลุ่ม Focus Group โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมพิจารณาเกี่ยวกับด้านพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการผลิตที่เหมาะสมของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ทางมติที่ประชุมต้องการที่จะพัฒนาเครื่องต้นแบบเพื่อเป็นการนำร่องเพื่อนำไปสู่การพัฒนา จึงเลือกกลุ่มผ้าบาติก ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มจากจำนวน 20 ราย เพราะมีศักยภาพ ความพร้อม ที่จะถูกการพัฒนาเป็นเครื่องต้นแบบ การทดสอบและประเมินผละหลักการทำงานของเครื่องผสมสีบาติกมีโครงสร้างและส่วนประกอบที่นำมาใช้ มีความคงทนแข็งแรง มีขั้นตอนและหลักการทำงาน มีความเหมาะสม ไม่ยุ่งยาก ทำให้ปริมาณของสีบาติกที่ผสมเสร็จแล้ว มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นสามารถลดจำนวนแรงงานคน ที่ใช้ในการผสมสีบาติกลง ลดจำนวนเวลา ที่ใช้ในการผสมสีบาติกลง เครื่องผสมสีบาติก สร้างขึ้นมาตรงกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงานอย่างแท้จริง ผู้วิจัยมีการอบรมให้ความรู้ ด้านข้อมูล เกี่ยวกับขั้นตอนและหลักการทำงานของเครื่องผสมสี และมีคู่มือวิธีการใช้งานเครื่องผสมสีบาติก ทั้งนี้มีการออกแบบเครื่องผสมสีบาติกร่วมกับผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับผู้ใช้ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้แผ่นดิน ปีงบประมาณ2558มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/566 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2558
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|