Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2558 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2558 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/561
|
Title: | จากการประชุมกลุ่ม Focus group พบว่า ผู้ผลิตต้องการพัฒนาเครื่องกรองอากาศสามารถกำจัดฝุ่นละอองที่มีอณูขนาดเล็กที่ล่องลอยอยู่ในอากาศโดยที่เรามองไม่เห็น สามารถกำจัดฝุ่นควันจากการทำงาน และสารระเหยจากสารเคมีต่างๆ รวมทั้งทำลายโครงสร้างของแบคทีเรียและไวรัสได้หลายชนิด จึงเป็นทางแก้ไขปัญหาให้กับผู้ผลิตสินค้า OTOP ได้เพราะจะช่วยให้ผู้มีปัญหาระบบทางเดินหายใจได้ในระดับหนึ่ง เครื่องกรองอากาศจะทำให้อากาศในบริเวณที่ติดตั้งนั้นดีขึ้นกว่าเดิมประกอบกับมลพิษทางอากาศลดลงได้ การระบายอากาศ ถ้าในโรงงานที่มีการระบายอากาศไม่ดีจะทำให้เกิดความอบอ้าว ขณะเดียวกัน กลิ่น ฝุ่นละออง แก๊ส และความชื้น ก็จะไม่มีการระบาย มีผลต่อสุขภาพของพนักงาน หรือถ้างานที่มีสารพิษเกิดขึ้นจากการทำงาน และไม่สามารถระบายออกไป พนักงานที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น อาจถึงแก่ชีวิตได้ ผลผลิตจากการประชุมกลุ่มจะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานด้านความปลอดภัยได้อย่างดี และสามารถนำเอาผลการสนทนากลุ่มไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องต้นแบบในด้านความปลอดภัยได้อย่างดี ทั้งยังสามารถช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น การทำงานปลอดภัยมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายจากการเกิดอุบัติเหตุและผลผลิตเพิ่มมากขึ้น สภาพแวดล้อม ก่อน และหลังจากติดตั้งเครื่องกรองอากาศ พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน มีจำนวนมาก แต่เมื่อได้ติดตั้งเครื่องกรองอากาศแล้วพบว่าปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดในขณะปฏิบัติงาน ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเปรียบเทียบสุขภาพของผู้ที่อยู่ในสายการผลิตก่อน และ หลังจากติดตั้งเครื่อง กรองอากาศ พบว่า อาการป่วยที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจก่อนติดตั้งเครื่องกรองอากาศพบว่ามีการป่วยเกิดขึ้นกับบางรายที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตบางขั้นตอน แต่หลังติดตั้งเครื่องกรองอากาศพบว่าผู้ป่วยและอาการป่วยที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจลดลง |
Authors: | เมฆขำ, อาจารย์ ดร.วิทยา |
Keywords: | - |
Issue Date: | 20-Sep-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจียปี 2560; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการประเมินประสิทธิภาพในการจัดซื้อของผู้ผลิตสินค้าในขั้นตอนวิธีการผลิตหัตถกรรมเรซิ่นเพื่อออกแบบและสร้างเครื่องผลิตหัตถกรรมเรซิ่นของผู้ผลิตสินค้า OTOP ในจังหวัดนนทบุรี การศึกษาในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล โดยมีขั้นตอนการสร้าง คือ ศึกษาแนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับเรื่องการจัดซื้อ แล้วนำไปสร้างแบบสอบถามหลังจากนั้นจึงนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแล้วนำมาปรับแก้ แล้วจึงนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ผลิตที่สินค้า OTOP ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน โดยแบบสอบถามที่ใช้นี้มี 5 ตอน คือ การซื้อสินค้าที่มีคุณภาพที่ถูกต้อง การซื้อสินค้าที่มีจำนวนที่ถูกต้อง การซื่อสินค้าที่มีจำนวนที่ถูกต้อง การซื้อสินค้าในเวลาที่ถูกต้อง และการซื้อสินค้าจากแหล่งขายที่ถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้ค่า X และS.D การพัฒนาทดลองผู้วิจัยจะศึกษาขั้นตอนและวิธีการผลิตหัตถกรรมเรซิ่นของกลุ่มบ้านสวนศิลป์ ตั้งอยู่ที่ 25/4 ม.3 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ปฏิบัติงานยึดอาชีพในการผลิตหัตถกรรมเรซิ่นซึ่งมีประชากรในกลุ่มบ้านสวนศิลป์ จำนวน 3 คน จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัย จะต้องสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่ทำเกี่ยวกับการผลิตหัตถกรรมเรซิ่นที่กลุ่มบ้านสวนศิลป์ ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ทั้งหมด 3 คน วิธีการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม 4 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 วิถีชีวิตและภูมิปัญญา ตอนที่ 2 ลักษณะของเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ตอนที่ 3 การประเมินด้านความรู้ในการทำงาน ทักษะความสามารถในการทำงาน เจตคติในการทำงาน ผลการวิจัยพบว่า
การซื้อสินค้าที่มีคุณภาพถูกต้อง คือได้จัดซื้อวัสดุได้ตามที่มาตรฐานกำหนด เรื่องของการซื้อสินค้าที่มีจำนวนที่ถูกต้อง คือ การจัดซื้อของเจ้าหน้าที่จัดซื้อมีจำนวนที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อการใช้งาน เรื่องของการซื้อสินค้าที่มีราคาที่ถูกต้อง คือ ในการจัดซื้อแต่ละครั้งนั้น ผู้จัดซื้อสามารถทำการจัดซื้อได้ในราคาที่ถูกต้องและเหมาะสมเสมอ เรื่องของการซื้อสินค้าในเวลาที่ถูกต้อง เกิดความผิดพลาดในการส่งสินค้า คือได้รับสินค้าไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดหรือเกิดการส่งสินค้าล่าช้า และเรื่องสุดท้ายคือการซื้อสินค้าจากแหล่งขายที่ถูกต้อง ในการสั่งซื้อแต่ละครั้งนั้นผู้จัดซื้อได้มีการตรวจสอบแหล่งขายทุก ๆ ครั้งเพื่อป้องกันในเรื่องของสินค้าไม่ได้มาตรฐาน
วิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น ลักษณะสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ทั่วไปของประชากรในท้องถิ่น พบว่าร้อยละของประชากรที่ศึกษา จำแนกตาม เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 66.7 ส่วนเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 33.3 มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.3 รองลงมา อายุระหว่าง 41 – 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.7 ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 33.3 รองลงมา ระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 66.7 สถานภาพ สมรส คิดเป็นร้อยละ 66.7 รองลงมา โสด คิดเป็นร้อยละ 33.3 ศาสนา นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 100 รายได้ 10,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100 มีอาชีพหลัก ทำหัตถกรรมเรซิ่น คิดเป็นร้อยละ 100 ประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 1 – 6 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.3 ประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 66.7 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 7 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 100 อาชีพที่เคยประกอบ ช่างยนต์ คิดเป็นร้อยละ 33.3 รองลงมา ขายวัสดุก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 66.7 ปริมาณในการผลิตผลิตภัณฑ์ ประมาณ 1 – 50 ชิ้นต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 100 การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต OTOP ในระดับ 2 ดาว คิดเป็นร้อยละ 100
ด้านการเปรียบเทียบจำนวน ด้านการเปรียบเทียบจำนวน พบว่า ในภาพรวมของสภาพจำนวนของการผลิตชิ้นงานจากเรซิ่น ก่อนทำและหลังทำ โดยพบว่า ในเรื่องท่านเคยทำงานได้ 50 ชิ้น / วัน ก่อนใช้เครื่อง และหลังจากใช้เครื่องทำงานได้ 100 ชิ้น /วัน การทำงานต่อเนื่องได้ครั้งละไม่ถึง 100 ชิ้น ก่อนใช้เครื่องและหลังจากใช้เครื่องทำงานได้ต่อเนื่องถึง 100 ชิ้น ด้านขั้นตอนการหล่อชิ้นงานจากเรซิ่นก่อนที่จะผลิต มีประมาณ 1 – 3 ชิ้น ก่อนที่จะใช้เครื่อง หลังจากที่ใช้เครื่อง ไม่เคยมีปัญหา
ด้านเปรียบเทียบด้านเวลา ด้านการเปรียบเทียบด้านเวลา พบว่า ในภาพรวมของด้านเวลาก่อนทำและหลังทำ โดยพบว่า การทำงานของมีผลกระทบต่อการส่งงาน มีบ้างตามแบบและชนิดของงาน ก่อนการใช้เครื่อง หลังจากใช้เครื่องไม่พบปัญหานี้เลย ในเวลา 1 ชั่วโมง ทำการผลิตได้ 1 ชิ้น / ชั่วโมง ก่อนใช้เครื่อง หลังใช้เครื่องทำได้ 10 ชิ้น / ชั่วโมง ในขั้นตอนการหล่อ การส่งงานให้ลูกค้ามีการล่าช้าบ้างบางครั้งก่อนใช้เครื่อง หลังใช้เครื่องไม่มีการส่งล่าช้า
ด้านเปรียบเทียบคุณภาพ พบว่าในภาพรวมของด้านคุณภาพ ก่อนทำและหลังทำ แต่ละครั้งที่ทำการหล่อแล้วมีฟองอากาศ 50 ชิ้น ก่อนใช้เครื่อง หลังใช้เครื่องไม่มีเลย มีชิ้นงานที่ชำรุดเสียหาย 5 ชิ้น ก่อนใช้เครื่อง หลังใช้เครื่อง ไม่มีเลย เคยมีชิ้นงานที่ส่งกลับคืน 5 ชิ้น / 50 ชิ้น ก่อนที่จะใช้เครื่อง หลังใช้เครื่องไม่มีเลย
จากการที่ได้ทำการใช้เครื่องจักรช่วยมีขั้นตอนการทำงานทำให้คุณภาพงานดีขึ้นในหลายๆ ด้าน ซึ่งเปรียบเทียบได้จากการที่ก่อนจะใช้เครื่องจักรจะมีปัญหาเรื่องการทำงานไม่ทันในหลายขั้นตอน เช่น แต่ละครั้งที่ทำการหล่อแล้วมีฟองอากาศ, มีชิ้นงานที่ชำรุดเสียหาย, มีชิ้นงานส่งกลับคืน แต่เมื่อใช้เครื่องจักรมาช่วยในขั้นตอนการทำงานแล้วปัญหาเหล่านั้นก็หมดไปคุณภาพงานก็ดีขึ้น ไม่มีปัญหาเรื่องการเกิดฟองอากาศที่ชิ้นงาน และที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดคือก่อนใช้เครื่องจักรช่วยในการทำงานสามารถทำงานได้แค่ 50 ชิ้นต่อวัน แต่เมื่อใช้เครื่องจักรช่วยในขั้นตอนการทำงานสามารถทำงานได้ถึง 100 ชิ้นต่อวัน ซึ่งเป็นผลดีและเป็นที่พึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้แผ่นดิน ปีงบประมาณ2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/561 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2558
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|