Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2558 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2558 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/559
|
Title: | การพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เทคโนโลยีนิเวศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน |
Authors: | ศรีมารุต, อาจารย์ ธรรมรักษ์ |
Keywords: | - |
Issue Date: | 20-Sep-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจียปี 2560; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในการนำเทคโนโลยีนิเวศมาใช้ และนำไปสู่การพัฒนาสร้างต้นแบบพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เทคโนโลยีนิเวศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ประชากรเป็นกลุ่ม OTOP ในจังหวัดนนทบุรี จำนวนทั้งหมด 302 ราย และได้เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามบัญชีรายชื่อ และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้ จำนวน 125 ราย เครื่องมือที่ใช้แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนบุคคล เป็นแบบสอบถาม มีข้อคำถามแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 ลักษณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการเป็นแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ มีข้อคำถามแบบประมาณค่า ตอนที่ 3 พัฒนาและสร้างเครื่องต้นแบบ เป็นการประชุมกลุ่ม Focus group เลือกวิธีสรุปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
ลักษณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ต้องการพัฒนาและปรับปรุง เทคโนโลยีการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 2.94 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีการจัดคนและมอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย 4.21 มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมามีการจัดสถานที่ให้เหมาะสมกับการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 4.06 อยู่ในระดับมาก และได้รับงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก มีค่าเฉลี่ย 1.57 อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ
เทคโนโลยีการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.37 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 3.41 อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ย 3.30 อยู่ในระดับปานกลาง และได้รับมาตรฐานจากองค์กรอื่นที่น่าเชื่อถือ มีค่าเฉลี่ย 1.50 อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ
มาตรฐานของเทคโนโลยีการการบำรุงรักษาของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีแสงสว่างเพียงพอในการทำงานมีค่าเฉลี่ย 4.86 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีปัญหาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ย 3.86 อยู่ในระดับมาก และป้องกันอัคคีภัยในสถานที่ทำงาน มีค่าเฉลี่ย 2.51 อยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ
พัฒนาและสร้างเครื่องต้นแบบ เป็นการประชุมกลุ่ม Focus group แนวทางการพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องกรองอากาศเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในที่ผลิตเซรามิควิจิตร ผู้วิจัยได้ผลจากการการวิเคราะห์ข้อมูลมาเป็นแนวทางในการประชุมกลุ่มย่อยร่วมระดมสมองเพื่อนำไปสู่การวางแผนแบบมีส่วนร่วม โดยเอาสภาพปัญหาที่เกิดจากสภาพจริงมาเป็นตัวตั้ง จากนั้นจึงร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพของผู้ผลิต จากนั้นจึงได้ข้อมูลมาพัฒนาต้นแบบ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 7 ท่าน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในการนำเทคโนโลยีนิเวศมาใช้ และนำไปสู่การพัฒนาสร้างต้นแบบพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เทคโนโลยีนิเวศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ประชากรเป็นกลุ่ม OTOP ในจังหวัดนนทบุรี จำนวนทั้งหมด 302 ราย และได้เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามบัญชีรายชื่อ และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้ จำนวน 125 ราย เครื่องมือที่ใช้แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนบุคคล เป็นแบบสอบถาม มีข้อคำถามแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 ลักษณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการเป็นแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ มีข้อคำถามแบบประมาณค่า ตอนที่ 3 พัฒนาและสร้างเครื่องต้นแบบ เป็นการประชุมกลุ่ม Focus group เลือกวิธีสรุปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
ลักษณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ต้องการพัฒนาและปรับปรุง เทคโนโลยีการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 2.94 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีการจัดคนและมอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย 4.21 มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมามีการจัดสถานที่ให้เหมาะสมกับการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 4.06 อยู่ในระดับมาก และได้รับงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก มีค่าเฉลี่ย 1.57 อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ
เทคโนโลยีการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.37 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 3.41 อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ย 3.30 อยู่ในระดับปานกลาง และได้รับมาตรฐานจากองค์กรอื่นที่น่าเชื่อถือ มีค่าเฉลี่ย 1.50 อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ
มาตรฐานของเทคโนโลยีการการบำรุงรักษาของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 2.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีแสงสว่างเพียงพอในการทำงานมีค่าเฉลี่ย 4.86 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีปัญหาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ย 3.86 อยู่ในระดับมาก และป้องกันอัคคีภัยในสถานที่ทำงาน มีค่าเฉลี่ย 2.51 อยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ
พัฒนาและสร้างเครื่องต้นแบบ เป็นการประชุมกลุ่ม Focus group แนวทางการพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องกรองอากาศเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในที่ผลิตเซรามิควิจิตร ผู้วิจัยได้ผลจากการการวิเคราะห์ข้อมูลมาเป็นแนวทางในการประชุมกลุ่มย่อยร่วมระดมสมองเพื่อนำไปสู่การวางแผนแบบมีส่วนร่วม โดยเอาสภาพปัญหาที่เกิดจากสภาพจริงมาเป็นตัวตั้ง จากนั้นจึงร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพของผู้ผลิต จากนั้นจึงได้ข้อมูลมาพัฒนาต้นแบบ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 7 ท่าน จากการประชุมกลุ่ม Focus group พบว่า ผู้ผลิตต้องการพัฒนาเครื่องกรองอากาศสามารถกำจัดฝุ่นละอองที่มีอณูขนาดเล็กที่ล่องลอยอยู่ในอากาศโดยที่เรามองไม่เห็น สามารถกำจัดฝุ่นควันจากการทำงาน และสารระเหยจากสารเคมีต่างๆ รวมทั้งทำลายโครงสร้างของแบคทีเรียและไวรัสได้หลายชนิด จึงเป็นทางแก้ไขปัญหาให้กับผู้ผลิตสินค้า OTOP ได้เพราะจะช่วยให้ผู้มีปัญหาระบบทางเดินหายใจได้ในระดับหนึ่ง เครื่องกรองอากาศจะทำให้อากาศในบริเวณที่ติดตั้งนั้นดีขึ้นกว่าเดิมประกอบกับมลพิษทางอากาศลดลงได้ การระบายอากาศ ถ้าในโรงงานที่มีการระบายอากาศไม่ดีจะทำให้เกิดความอบอ้าว ขณะเดียวกัน กลิ่น ฝุ่นละออง แก๊ส และความชื้น ก็จะไม่มีการระบาย มีผลต่อสุขภาพของพนักงาน หรือถ้างานที่มีสารพิษเกิดขึ้นจากการทำงาน และไม่สามารถระบายออกไป พนักงานที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น อาจถึงแก่ชีวิตได้ ผลผลิตจากการประชุมกลุ่มจะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานด้านความปลอดภัยได้อย่างดี และสามารถนำเอาผลการสนทนากลุ่มไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องต้นแบบในด้านความปลอดภัยได้อย่างดี ทั้งยังสามารถช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น การทำงานปลอดภัยมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายจากการเกิดอุบัติเหตุและผลผลิตเพิ่มมากขึ้น สภาพแวดล้อม ก่อน และหลังจากติดตั้งเครื่องกรองอากาศ พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน มีจำนวนมาก แต่เมื่อได้ติดตั้งเครื่องกรองอากาศแล้วพบว่าปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดในขณะปฏิบัติงาน ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเปรียบเทียบสุขภาพของผู้ที่อยู่ในสายการผลิตก่อน และ หลังจากติดตั้งเครื่อง กรองอากาศ พบว่า อาการป่วยที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจก่อนติดตั้งเครื่องกรองอากาศพบว่ามีการป่วยเกิดขึ้นกับบางรายที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตบางขั้นตอน แต่หลังติดตั้งเครื่องกรองอากาศพบว่าผู้ป่วยและอาการป่วยที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจลดลง |
Description: | งานวิจัยบงประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/559 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2558
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|