Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2556 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2556 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/524
|
Title: | ไม้โกงกางกับการประยุกต์ใช้ในการออกแบบไม้เท้าสำหรับผู้สูงอาย |
Authors: | สังวาลเพ็ชร, นภดล |
Keywords: | - |
Issue Date: | 19-Sep-2018 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัย 2560; |
Abstract: | โครงการวิจัยไม้โกงกางกับการประยุกต์ใช้ในการออกแบบไม้เท้าส าหรับผู้สูงอายุ
มีวัตถุประสงค์เพื่อน าคุณสมบัติด้านความแข็งแรง ความเหนียว และคุณสมบัติเฉพาะตัวของไม้โกงกาง
มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบไม้เท้าส าหรับผู้สูงอายุ โดยศึกษาจากพฤติกรรมการด าเนินชีวิต และ
การเลือกใช้ไม้เท้าของผู้สูงอายุ กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือกลุ่มผู้สูงอายุเพศชายและหญิง
จ านวน 70 คน ที่มีอายุระหว่าง 60-80 ปี ในเขตต าบลแพรกหนามแดง อ าเภออัมพวา จังหวัด
สมุทรสงคราม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้ไม้เท้าเนื่องจากมีอาการข้อเข่าเสื่อม 2. กลุ่ม
ผู้สูงอายุมีความต้องการในการใช้ไม้เท้ามาก เนื่องจากมีความเห็นว่าไม้เท้าสามารถช่วยให้การเดิน
สะดวกมากขึ้นและช่วยลดการหกล้มได้ แต่ไม้เท้าต้องมีด้ามจับที่ถนัดมือและส่วนของไม้เท้าที่สัมผัส
พื้นต้องไม่ลื่น มีความสวยงามน่าใช้งาน 3. กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความคิดเห็นตรงกันว่า ไม้โกงกาง
เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการน ามาท าเป็นไม้เท้า เนื่องจากไม้โกงกางมีความเหนียวและ
แข็งแรง อีกทั้งยังเป็นไม้พื้นถิ่นหาได้ง่ายและราคาไม่แพง
ข้อเสนอแนะเพื่อน าผลการวิจัยไปใช้
1. การวิจัยครั้งนี้เป็นการน าคุณสมบัติด้านความแข็งแรง ความเหนียว และคุณสมบัติ
เฉพาะตัวของไม้โกงกาง เพื่อน ามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบไม้เท้าส าหรับผู้สูงอายุ
2. เพื่อเป็นแนวทางในการน าไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่นของประดับตกแต่งบ้าน
โรงแรม หรือรีสอร์ท ของที่ระลึก และอื่นๆ โดยค านึงถึงคุณสมบัติของไม้โกงกาง
3. ผลงานออกแบบขั้นสุดท้ายอาจเป็นการน าข้อดีของรูปแบบในแต่ละรูปแบบมาผสมผสาน
เพื่อความลงตัวยิ่งขึ้น
4 . ในการออกแบบอาจมีการปรับเปลี่ยนเรื่องการเลือกใช้วัสดุอื่นๆมาใช้ร่วม รวมทั้งการท าสี
ควรใช้การย้อมสีไม้แทนเนื่องจากรูปแบบการใช้งานต้องมีการเสียดสีกันของผิวไม้ การย้อมสีจึงมีความ
เหมาะสมต่อความคงทนมากกว่า
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มผู้สูงวัยในเขตเมือง เพื่อเป็นการเปรียบเทียบพฤติกรรม
ต่างๆ ได้มากขึ้น รวมถึงองค์ประกอบด้านอื่นๆ เพื่อน ามาเป็นแนวทางในการออกแบบให้สอดคล้องกับ
วิถีชีวิตในปัจจุบัน 2. ควรมีการศึกษา คุณสมบัติด้านอื่นๆ ของวัสดุไม้โกงกาง เพื่อน ามาเป็นแนวทางในการ
ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับของตลาดในประเทศและ
ต่างประเทศ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทิยาลัย ปีงบประมาณ2556มหาวิทิยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/524 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2556
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|