DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2555 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2555 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/360

Title: การศึกษาลักษณะการเรียนรู้และกลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: พลายเล็ก, ธีราภรณ์
Keywords: การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Issue Date: 20-Jun-2015
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2555;
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและศึกษากลวิธี การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 แขนงวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร จาแนกตามกลุ่ม ที่เรียนเก่งมาก กลุ่มที่เรียนเก่ง กลุ่มที่เรียนปานกลาง และกลุ่มที่เรียนอ่อน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ 5 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กาหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการคานวณของสูตร Taro Yamane ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จานวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมาก ส่วนใหญ่จะมีลักษณะการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ประสาทตาและลักษณะการเรียนรู้แบบคาดเดากฏและความหมายของภาษาใหม่มากที่สุด รองลงมาคือลักษณะของการรู้สึกสนุกและผ่อนคลายกับการทากิจกรรมทางภาษาและภาระงาน ส่วนนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมีลักษณะการเรียนรู้แบบคาดเดากฏและความหมายของภาษาใหม่มากที่สุด รองลงมาคือลักษณะการเรียนรู้แบบเป็นไปตามลาดับขั้นตอน นักศึกษากลุ่มที่เรียนปานกลางมีลักษณะการเรียนรู้แบบมีความละเอียดถี่ถ้วนในการวางแผนและทาภาระงานมากที่สุด รองลงมาคือลักษณะของการสรุปหาคาตอบด้วยการศึกษากฏของภาษาใหม่ก่อน และนักศึกษากลุ่มที่เรียนอ่อนจะมีลักษณะการเรียนรู้แบบคาดเดากฏและความหมายของภาษาใหม่มากที่สุด รองลงมาคือลักษณะของการแสวงหากฏเกณฑ์ทางภาษาใหม่ ส่วนลักษณะการเรียนรู้ที่มีน้อยที่สุดของนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมาก กลุ่มที่เรียนเก่ง และกลุ่มที่ www.ssru.ac.th (3) เรียนปานกลางคือลักษณะการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะสัมพันธภาพของผู้เรียนที่มีต่อผู้อื่น ขณะที่นักศึกษากลุ่มที่เรียนอ่อนจะมีลักษณะการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการริเริ่มภาระงานน้อยที่สุด 2. กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมาก ส่วนใหญ่จะนากลวิธีที่ใช้ อภิปัญญามาใช้มากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีที่ใช้การเสริมและการทดแทน ส่วนนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งจะนากลวิธีที่ใช้อภิปัญญาและกลวิธีเชิงวิภาพมาใช้มากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีทางสังคม นักศึกษากลุ่มที่เรียนปานกลางจะนากลวิธีที่ใช้อภิปัญญา กลวิธีเชิงวิภาพ และกลวิธีทางสังคมมาใช้มากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีที่ใช้การเสริมและการทดแทน และนักศึกษากลุ่มที่เรียนอ่อนจะนากลวิธีที่ใช้ความจามาใช้มากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีทางสังคม ส่วนกลวิธีที่นามาใช้น้อยที่สุดของนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมาก กลุ่มที่เรียนปานกลางและกลุ่มที่เรียนอ่อนคือกลวิธีที่ใช้ความรู้ความเข้าใจ ขณะที่นักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งจะนากลวิธีที่ใช้การเสริมและการทดแทนมาใช้น้อยที่สุด
Description: งานวิจัยงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/360
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2555

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ird_168_55 (1).pdfปก158.97 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (2).pdfบทคัดย่อ341.35 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (3).pdfAbstract313.87 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (4).pdfกิตติกรรมประกาศ585.36 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (5).pdfบทที่ 1288.6 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (6).pdfบทที่ 2332.73 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (7).pdfบทที่ 3282.69 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (8).pdfบทที่ 4582.95 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (9).pdfบทที่ 5288.62 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (10).pdfบรรณานุกรม342.31 kBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (11).pdfภาคผนวก1.02 MBAdobe PDFView/Open
ird_168_55 (12).pdfประวัตินักวิจัย279.57 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback