Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2555 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2555 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/332
|
Title: | การศึกษาการเลี้ยงไส้เดือนเชิงพานิชย์ในการจัดการขยะอินทรีย์ |
Authors: | ปิยนุสรณ์, ภฤศญา สุทธใจดี, วรรณี |
Keywords: | ไส้เดือน การจัดการขยะ |
Issue Date: | 20-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2555; |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญญา อุปสรรค ข้อกาจัดและศักยภาพ ด้านการทาฟาร์ม การตลาด และต้นทุนการเลี้ยงไส้เดือนเชิงพานิชย์ด้วยขยะอินทรีย์
เพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของเสียและลดปริมาณขยะอินทรีย์ที่ต้องกาจัด และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยทาการสารวจฟาร์มเลี้ยงไส้เดือน ทาการเก็บข้อมูลเชิงลึก เพื่อนามาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน รวมถึงปัญหาอุปสรรค เงื่อนไข และข้อจากัดต่างๆ เพื่อไปปรับปรุงเพิ่มเติม ซึ่งครอบคลุมในด้านการจัดการฟาร์ม ด้านการตลาด และต้นทุน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
ผลการศึกษาชนิดของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินหลังจากการปล่อยไส้เดือนดิน 60 วัน พบว่าดินนาผสมดินสวนลาไยมีความเหมาะสมมากที่สุด การเจริญเติบโตของไส้เดือนดินในระยะนี้ มีการเพิ่มขนาดแต่ไม่เพิ่มจานวนและยังพบตัวอ่อนของไส้เดือนดินและไส้เดือนดินตายในทุกตัวอย่างการทดลอง ซึ่งอาจจะเกิดจากสภาพของดินที่ใช้เลี้ยงมีการอัดแน่นมากจนเกินไป ทาให้น้าซาวข้าวที่ใส่ลงไปเพื่อเพิ่มความชื้นให้กับดินที่ใช้เลี้ยงขังอยู่บนผิวหน้าดินทาให้ดินชั้นล่างมีความชื้นมากจนเกินไปไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน นอกจากนี้การปนเปื้อนของดินจากมลพิษต่าง ๆ รวมถึงชนิดของดินอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน การผสมวัสดุเลี้ยงหลายชนิดร่วมกันจะช่วยให้บ่อเลี้ยงไส้เดือนดินมีการถ่ายเทอากาศมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน รวมถึงสถานที่ตั้งของบ่อเลี้ยงควรตั้งอยู่ในสถานที่ที่แดดส่งไม่ถึงและควรเติมอาหารให้เหมาะสมกับปริมาณไส้เดือนดิน การทาให้ได้ผลผลิตไส้เดือนดินสูงสุดต้องเป็นสภาพที่มีออกซิเจนอย่างเพียงพอ มีระดับความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม ต้องหลีกเลี่ยงสภาพที่มีแอมโมเนียและเกลือมากเกินไป ถ้ามีปริมาณของแอมโมเนียมากกว่า 0.5 มิลลิกรัม และเกลืออนินทรีย์มากกว่าร้อยละ 0.5 ก็จะเป็นพิษได้ ไส้เดือนดินชอบสภาพที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 5 วัสดุที่ใช้ทาปุ๋ยหมักจะเปลี่ยนมาอยู่ในรูปที่ไม่มีออกซิเจนได้ถ้ามีสภาพไม่เหมาะสม เช่น มีอากาศไม่เพียงพอ สภาพเช่นนี้พบได้เสมอเมื่อมีความชื้นมากเกินไป การศึกษาคุณสมบัติของปุ๋ยหมักที่ได้ พบว่า ทุกตัวอย่างมีค่าเป็นด่างอ่อน ๆ ธาตุอาหารหลัก พบว่า ปริมาณที่ตรวจพบในปุ๋ยหมักที่ได้จากกย่อยสลายของไส้เดือนดินทุกตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกัน โดยตัวอย่างเศษหญ้าร่วมกับต้นกล้วยร่วมกับฟางข้าวมีปริมาณร้อยละของไนโตรเจนและ ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดสูงที่สุดแต่เมื่อเทียบกับมาตรฐานปุ๋ยหมักของกรมวิชาการเกษตรแล้วยังน้อยกว่าซึ่งอาจเกิดจากปริมาณไส้เดือนดินลดลงทาให้การปลดปล่อยธาตุอาหารลดลง มูลของไส้เดือนดินจะมีปริมาณธาตุอาหารพืชสูงเมื่อมีจานวนไส้เดือนดินมากซึงจะ
www.ssru.ac.th
(2)
ส่งผลต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชที่เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้การที่จะเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักที่ได้ให้สูงขึ้นต้องคานึงถึงอาหารที่ใช้เลี้ยง โดยเฉพาะวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่บางชนิดมีปริมาณธาตุอาหารน้อย การนามาใช้ต้องเพิ่มธาตุอาหารซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของมูลสัตว์ โดยเฉพาะมูลไก่ เลือดแห้งหรือพืชที่มีไนโตรเจนสูง เช่น พืชตระกูลถั่วนอกจากจะได้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักที่เพียงต่อการเจริญเติบโตของพืชแล้วยังส่งผลการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินอีกด้วย ในส่วนของประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักต่อการเจริญเติบโตของกล้าพืช หลังจากเพาะกล้า 14 และ 21 วัน ต้นกล้าพืชทั้งสามชนิดมีส่วนสูงเฉลี่ยและจานวนใบเฉลี่ย และความยาวรากเฉลี่ยหลังจากเพาะได้ 21 ไม่แตกต่างกัน แต่ลักษณะของต้นกล้าไม่สมบูรณ์ ต้นไม่อวบน้า ใบเรียวเล็กซึ่งอาจเกิดจากลักษณะของปุ๋ยหมักที่ใช้แน่นอัดกันเป็นก้อน ไม่สามารถเก็บความชื้นได้ดีพอ สมภพ (2537) กล่าวว่า คุณสมบัติของวัสดุเพาะกล้าต้องเก็บความชื้นได้ดี มีความโปร่งเพื่อระบายน้าออกได้ง่าย นอกจากนี้ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ใช้อาจจะไม่เพียงพอต่อการเติบโตของต้นกล้าซึ่งควรเพิ่มธาตุอาหารหลักเพิ่มเติม การเลี้ยงไส้เดือนดินกาจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน/ในชุมชน ภายในบ้านเรือนมักมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดขยะอินทรีย์จานวนมาก เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหารเป็นประจาทุกวัน ขยะอินทรีย์ต่างๆ ดังกล่าวสามารถเลี้ยงไส้เดือนดินไว้กาจัดภายในบริเวณบ้านได้ ด้วยชุดเลี้ยงที่สามารถทาเองได้ง่าย เช่น ถังน้า/อ่างน้าพลาสติก ลิ้นชักพลาสติก บ่อซีเมนต์ หรือสร้างโรงเรือนขนาดเล็ก โดยสามารถใส่เศษขยะอินทรีย์ได้ทุกวัน เมื่อไส้เดือนดินย่อยสลายขยะอินทรีย์เหล่านั้นจะได้ปุ๋ยหมักและน้าหมักมูลไส้เดือนดินคุณภาพสูงไว้ใช้ปลูกพืชต่างๆ ภายในบ้านได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดภาระการจัดเก็บขยะของเทศบาลลงได้จานวนมาก
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไส้เดือนดินแต่ละสายพันธุ์ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายยาก
2.ศึกษาความเหมาะสมของวิธีการทาปุ๋ยหมักโดยใช้ไส้เดือนดินย่อยสลาย โดยการเปรียบเทียบแต่ละวิธีการ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/332 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2555
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|