DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2554 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/208

Title: การสร้างแบบจำลองโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์เพื่อทำนายค่าออกซิเจนใน น้ำผิวดิน: กรณีศึกษาคุณภาพน้ำคลองในเขตดุสิต
Authors: อารีรัชชกุล, ศิริลักษณ์
Keywords: ใยประสาทประดิษฐ์
ออกซิเจน
น้ำผิวดิน
Issue Date: 20-Jun-2015
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2554;
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์เพื่อทำนาย ปริมาณค่าออกซิเจนในน้ำผิวดิน (DO): กรณีศึกษาคุณภาพน้ำคลองในเขตดุสิต โดยแบบจำลอง โครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากข้อมูลที่ได้ถูกเก็บบันทึกมาจากสำนักงานการ ระบายน้ำกรุงเทพมหานครระหว่างปี 2549-2551 โดยกำหนดให้พารามิเตอร์จำนวน 10 พารามิเตอร์ เป็นตัวแปรอิสระหรือข้อมูลนำเข้าเพื่อไปเรียนรู้ในแบบจำลองซึ่งประกอบไปด้วย ค่าความเป็นกรด- ด่าง (pH) ปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ในการสลายสารอินทรีย์ในน้ำ (BOD) ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ใน การย่อยสลายอินทรีย์ในน้ำ (COD) ปริมาณของแข็งในน้ำ (SS) ปริมาณไนโตรเจนที่มีอยู่ในน้ำเสีย (TKN) ปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3N), ปริมาณไนไตร-ไนโตรเจน (NO2N), ปริมาณไนเตรท- ไนโตรเจน (NO3N), ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด (T-P) and ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (total coliform) ในที่นี้อัลกอริทึมที่นำมาใช้ในการสร้างการเรียนรู้ในโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์ คือ Levenberg–Marquardt อัลกอริทึม พร้อมกับกำหนดตัววัดประสิทธิภาพและใช้ค่าสถิติในการ ตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนในการทดลองครั้งนี้ด้วย ซึ่งหลังจากที่ได้ทำการวิจัยแล้วจำนวนโหนด ในชั้นซ่อนที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างแบบจำลองโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์เพื่อทำนายปริมาณค่า ออกซิเจนในน้ำผิวดิน คือ จำนวน 16 โหนด และผลจากการทดสอบประสิทธิภาพและความเหมาะสม ของแบบจำลองโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้ถูกจัดเก็บมาในอดีต แบบจำลองโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์สามารถทำนายปริมาณค่าออกซิเจนในอนาคตของพื้นที่ใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานครได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้อยู่ในระดับสูง และมีค่าความ คลาดเคลื่อนของข้อมูลที่ไม่มากนัก ซึ่งแบบจำลองที่ได้สามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผนในการบำบัด และรักษาคุณภาพน้ำได้
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/208
ISSN: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ird_115_54.pdfปก55.46 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (1).pdfบทคัดย่อ262.08 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (2).pdfabstract237.16 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (3).pdfกิตติกรรมประกาศ276.38 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (4).pdfบทที่ 1258.48 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (5).pdfบทที่ 2377.22 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (6).pdfบทที่ 3404.45 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (7).pdfบทที่ 4499.2 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (8).pdfบทที่ 5326.16 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (9).pdfบรรณานุกรม258.18 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (10).pdfภาคผนวก808.39 kBAdobe PDFView/Open
ird_115_54 (11).pdfประวัตินักวิจัย254.95 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback