Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2552 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2552 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1941
|
Title: | การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
Authors: | ภูสิทธ์, ขันติกุล |
Keywords: | การพัฒนาชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
Issue Date: | 16-Nov-2020 |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้ ได้กาหนดวัตถุประสงค์ไว้ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและสภาพปัญหาของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ทาการรวบรวมข้อมูลจากกรรมการชุมชนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จานวน 281 คน คิดเป็นร้อยละ 91.2 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), Independent - Samples T test (T-test), One-Way ANOVA (F-test) และ Correlation
ผลการศึกษาพบว่า
1. กรรมการชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุไม่เกิน 46 ปี มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ม.6 หรือปวช. มีอาชีพรับจ้าง รายได้ต่อเดือน 3,000-6,000 บาท และส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมใด ๆ โดยกรรมการชุมชนเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ และอาศัยอยู่ในชุมชนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
2. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาชุมชน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของกรรมการชุมชน เกือบทั้งหมดเคยได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน และได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาชุมชนจากเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบมากที่สุด รองลงมา คือโทรทัศน์ และวิทยุ นอกจากนี้กรรมการชุมชนยังได้รับการพัฒนาชุมชนจากหน่วยงานของรัฐ หรือสานักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในลักษณะการจัดประชุมกรรมการชุมชน การศึกษาดูงาน และการฝึกอบรมกรรมการชุมชน ยังพบว่ากรรมการชุมชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในระดับมากเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของกรรมการชุมชน
3. การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ด้านการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาในการพัฒนาชุมชน รองลงมา ด้านการลงทุนปฏิบัติการพัฒนาชุมชน ด้านการวางแผนดาเนินการพัฒนาชุมชน และด้านการติดตามประเมินผลในการพัฒนาชุมชน
4. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม
5. ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานครได้แก่ เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา ศาสนา และระยะเวลาที่อยู่อาศัยในชุมชน
ข้อเสนอแนะ 1. กรรมการชุมชนควรดาเนินงานของชุมชนด้วยความเสียสละ ทุ่มเทให้กับชุมชนและประชาชน ทั้งด้านการเสียสละทุนทรัพย์ และเวลาในการพัฒนาชุมชนอย่างเต็มกาลังความสามารถ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนความเป็นผู้นาที่มีคุณภาพ ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนในชุมชน 2. กรรมการชุมชนควรมีการกากับ ติดตาม ตรวจสอบการดาเนินงานทุกขั้นตอนของแผนพัฒนาชุมชน เพื่อจะได้นาข้อบกพร่องในการดาเนินงานของแผนพัฒนามาปรับปรุงแก้ไขในการทางานครั้งต่อไปให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้อย่างสมบูรณ์ 3. สานักงานเขตดุสิตควรจัดให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลในพื้นที่ของชุมชนอย่างทั่วถึง รวมถึงเจ้าหน้าที่ควรมีมนุษยสัมพันธ์เมื่อเข้ามาติดต่อประสานงานกับชุมชน เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1941 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2552
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|