Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/15
|
Title: | การศึกษาและพัฒนาเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียงเพื่อประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติก เพื่อพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ของที่ระลึกจังหวัดอุดรธานี |
Authors: | จันทราสา, รจนา เรืองวรรณศักดิ์, กนิษฐา พัฒนปณิธิพงศ์, ภานุ |
Keywords: | เอกลักษณ์ลวดลาย บ้านเชียง |
Issue Date: | 4-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2553; |
Abstract: | การศึกษาและพัฒนาเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียงเพื่อประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติก เพื่อพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกจังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อวิเคราะห์เอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียง ในการนามาประยุกต์ร่วมกับผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกได้ 2)เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกจังหวัดอุดรธานี จานวน 3 ผลิตภัณฑ์ ให้มีความสวยงามเหมาะสมกับเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียง 3)เพื่อประเมินผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกที่มีต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าที่ออกแบบและพัฒนานาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ จานวน 3 ผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนจังหวัดอุดรธานี 100 คน สอบถามให้ได้มาซึ่งเอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียงที่เหมาะสมในการประยุกต์ร่วมกับผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติก แล้วประเมินรูปแบบ โดย ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน จานวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จานวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการประยุกต์ร่วมกับผลิตภัณฑ์ จากนั้นสร้างต้นแบบแล้วประเมินผลวัดระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกที่ได้จากการออกแบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1)เอกลักษณ์ลวดลายบ้านเชียง ที่สามารถสื่อถึงเอกลักษณ์บ้านเชียงได้ชัดเจนมากที่สุด คือ ลวดลายขดก้นหอยของบ้านเชียง ผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกจังหวัดอุดรธานีจากผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติกลายบ้านเชียงประเภทชุดผ้าปูที่นอน มากที่สุด รองมาคือ คือ เฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ และโคมไฟประดับบ้านตามลาดับ 2)ผลการวิเคราะห์การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าแปรรูปโดยผู้เชี่ยวชาญการออกแบบ รูปแบบของชุดผ้าปูที่นอน เก้าอี้ และโคมไฟ ที่ออกแบบและพัฒนานั้นมีความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย เหมาะสมกับวัสดุและกรรมวิธีการผลิต มีความสวยงามและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด 3)ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าแปรรูปเพ้นท์บาติก มีความพึงพอใจเก้าอี้นั่งเล่นมากที่สุด รองลงมาคือ ชุดผ้าปูที่นอน และโคมไฟประดับบ้าน ตามลาดับ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/15 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|