DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1354

Title: การยกระดับขีดความสามารถของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าว ในการแข่งขันสู่ธุรกิจ SMEs
Authors: ศรีมารุต, อาจารย์ธรรมรักษ์
Issue Date: 23-Jan-2019
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2560;
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อการสร้างนวัตกรรมการผลิตสินค้า OTOP ยกระดับสู่ SMEs บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มที่ 1 เลือกพื้นที่สัมภาษณ์กระบวนการผลิตน้ำตาลมะพร้าวและปัจจัยความสำเร็จแบบเจาะจง คือน้ำตาลมะพร้าวยี่ห้อกำนันจุ่น ตำบลจอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นกลุ่มตัวอย่างที่สามารถระบุจำนวนได้ จำนวน 1 กลุ่ม ส่วนการประชุมกลุ่มย่อยนั้นเป็นผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าว เลือกตัวแทนกลุ่ม 18 ราย ได้แก่ ได้แก่ กลุ่มสตรีตำบลนางตะเคียน กลุ่มอาชีพทำน้ำตาลมะพร้าว กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าว กลุ่มแม่บ้านตลาดน้ำท่าคา กลุ่มอาชีพบ้านคลองเขิน กลุ่มแม่บ้านบางตะบูน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาวโด่ง จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มที่ 2 แบบสอบถามการบริหารจัดการ เป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP, SMEs ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภออัมพวา อำเภอบางคนที ในจังหวัดสมุทรสงคราม 7 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มสตรีตำบลนางตะเคียน 2.กลุ่มอาชีพทำน้ำตาลมะพร้าว 3.กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าว 4.กลุ่มแม่บ้านตลาดน้ำท่าคา 5.กลุ่มอาชีพบ้านคลองเขิน 6.กลุ่มแม่บ้านบางตะบูน หมู่ 4 7.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาวโด่ง จำนวน 110 ราย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 86 ราย กลุ่มที่ 3 แบบสอบถาม เกี่ยวกับการบริหารจัดการ ในพื้นที่ศึกษา จำนวน 21 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าที่เป็นประเภทอาหาร ผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก กลุ่มที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง รวมผู้ผลิตสินค้า 21 กลุ่ม มีคณะกรรมการ 167 ราย ประชากร และได้แบบสอบถามคืนมาและคัดเลือกฉบับที่สมบูรณ์ได้จำนวน 70 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ศึกษาประวัติชุมชน ปัจจัยที่ส่งผลทำให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน แนวทางการลดอุบัติเหตุในการทำงาน ลักษณะของเทคโนโลยีการจัดการสินค้าของชุมชน OTOP สิ่งแวดล้อมความปลอดภัยในการทำงาน ปัญหาการผลิตและการออกแบบ ลักษณะของเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน และการประเมินการเรียนรู้การบริหารจัดการทัศนคติกระบวนการผลิต การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อคำนวณหาค่าสถิติจากข้อมูล ในส่วนของแบบสอบถามที่เป็นข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตและผลกระทบการประกอบอาชีพผลิตน้ำตาลมะพร้าวของเกษตรกรชาวสวนตำบลจอมปลวก อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า เกษตรกรผู้ทำสวนน้ำตาลมะพร้าว มีการเรียนรู้วิธีการต่างๆ ในการผลิตน้ำตาลมะพร้าว ตั้งแต่เริ่มการทำดินและปลูกมะพร้าวมีการบำรุงดูแลจนมะพร้าวตกจั่นให้ผลผลิตน้ำตาลใสได้ เป็นภูมิปัญญาที่เกษตรกรต้องมีการศึกษาและเรียนรู้จากบรรพบุรุษ เพราะการผลิตน้ำตาลมะพร้าวเป็นเรื่องยาก และเสี่ยงอันตราย เกษตรกรจึงได้รับการถ่ายทอดการผลิตน้ำตาลมะพร้าวมาเป็นอย่างดี สภาพปัญหาของกระบวนการผลิตวัตถุดิบที่นำมาผลิตน้ำตาลไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงต้องทำการสั่งซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรชาวสวน ซึ่งวัตถุดิบที่ได้ ไม่ได้มาตรฐานในการนำมาผลิตทำให้ต้องทิ้ง การบริหารจัดการสินค้าของผู้ผลิตสินค้าพบว่า การวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับวัตถุดิบ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.72 อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับสุดท้ายสินค้าที่ผลิตยังไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าเท่าที่ควร มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.85 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย สภาพความพร้อมในการดำเนินงานของผู้ผลิตสินค้าด้านการช่องทางการตลาดของผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.67 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การจำหน่ายสินค้าโดยวิธีขายตรง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.86 อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับสุดท้ายการเข้าร่วมโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขาย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.85 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยที่สุด สภาพความพร้อมในการดำเนินงานของผู้ผลิตสินค้าด้านคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตสินค้า พบว่า ผู้ผลิตมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนการจัดจำหน่ายมีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.91 อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับสุดท้ายเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีคุณภาพและมาตรฐาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.90 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย สภาพความพร้อมในการดำเนินงานของผู้ผลิตสินค้า พบว่า ผู้ผลิตมีการจำหน่ายสินค้าโดยวิธีขายตรง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.86 อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับสุดท้ายการเข้าร่วมโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมการขาย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.13 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยที่สุด สภาพความพร้อมในการดำเนินงานของผู้ผลิตสินค้า ด้านความปลอดภัยในการทำงานของผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า ผู้ผลิตมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.88 อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับสุดท้ายปัญหาเสียงดังในการทำงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.90 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยที่สุด การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท่านได้รับการปฏิบัติช่วยเหลือดูแลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ พบว่า การให้การสนับสนุนส่งออกสินค้าไปยังต่างจังหวัดและต่างประเทศ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.05 อยู่ในระดับมาก และลำดับสุดท้ายการตรวจสอบสถานประกอบการผลิตสินค้าและเก็บตัวอย่างจากสถานประกอบการส่งตรวจสอบเพื่อพิจารณาออกใบรับรองดำเนินไปอย่างโปร่งใส มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.83 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย ก่อนที่ท่านจะได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท่านได้รับความร่วมมือและความสามัคคีของสมาชิกของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหรือเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่างๆต่อไปนี้หรือไม่ มาก น้อยเพียงใด พบว่า สมาชิกในกลุ่มของสินค้าของท่านมีความจริงจังต่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเพื่อให้ได้รับการรับรองเพียงใด มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.08 อยู่ในระดับมาก และลำดับสุดท้ายสมาชิกของกลุ่มผลิตภัณฑ์ของท่านมีการร่วมสมทบเงินทุนในการประกอบกิจการเพียงใด มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.86 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย หลังจากที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้วกิจการของกลุ่ม OTOP/ท่าน ส่งผลให้เกิดสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้หรือไม่เพียงใด (ด้านการสร้างงานสร้างรายได้) พบว่า สามารถลดปัญหาภาระหนี้สินของประชาชนและผู้ประกอบการและสมาชิกได้ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.92 อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับสุดท้ายสมาชิกกลุ่มมีความเป็นดีอยู่ดีที่ดีขึ้น มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.98 ซึ่งอยู่ในระดับมาก หลังจากที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้วกิจการของกลุ่ม OTOP/ท่าน ส่งผลให้เกิดสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้หรือไม่เพียงใด (ด้านความเข้มแข็งของชุมชนและพึ่งตนเอง) พบว่า สามารถลดปัญหาภาระหนี้สินของประชาชนและผู้ประกอบการและสมาชิกได้ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.92 อยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับสุดท้ายสมาชิกกลุ่มมีความเป็นดีอยู่ดีที่ดีขึ้น มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.98 ซึ่งอยู่ในระดับมาก หลังจากที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้วกิจการของกลุ่ม OTOP/ท่าน ส่งผลให้เกิดสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้หรือไม่เพียงใด (ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์) พบว่า ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่ผลิตมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.16 อยู่ในระดับมาก และลำดับสุดท้ายสามารถลดต้นทุนการผลิตและทำให้ราคาถูกลง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.90 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย เกี่ยวกับพฤติกรรมในการทำงานที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานในกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชน OTOP และ SMEs พบว่า ผู้ผลิตไม่สูบบุหรี่ในขณะปฏิบัติงานอยู่ในระดับที่ดีมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.80 และข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือกลุ่มผู้ผลิตสินค้าไม่ได้รับประทานยาแก้แพ้ แก้หวัด ก่อนเข้าปฏิบัติงานหรือในขณะปฏิบัติงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.67 แนวทางในการลดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานของในกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชน OTOP และSMEs ในจังหวัดสมุทรสงคราม มีแนวทางในการลดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานอยู่ในระดับปานกลางมีค่าคะแนนเฉลี่ย3.24แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 1. ด้านนโยบายขององค์กรอยู่ในระดับปานกลางมีค่าคะแนนเฉลี่ย3.47 ข้อที่มีคะแนนสูงสุดคือการติดป้ายประกาศนโยบายด้านความปลอดภัยจากฝ่ายบริหารในที่ที่ชัดเจน มีค่าคะแนนเฉลี่ย3.63 อยู่ในระดับดี รองลงมาคือ สอดแทรกนโยบายด้านความปลอดภัยในคู่มือปฐมนิเทศอยู่ในระดับดี มีค่าคะแนนเฉลี่ย3.61 สอดแทรกนโยบายด้านความปลอดภัยในเอกสารการอบรมต่างๆ ของลูกจ้างอยู่ในระดับมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.56 และข้อที่มีคะแนนน้อยที่สุดคือแจ้งนโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับลูกจ้างทุกรายทราบอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.11 2. ด้านการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.88 ข้อที่คะแนนสูงสุดคือ จัดอบรมให้ความรู้ปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้างอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.27 รองลงมาจัดหัวหน้าสอนงานที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ลูกจ้างอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.21 ผู้ผลิตไปดูงานด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.14 จัดอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทำงานแก่ผู้ผลิตในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.93 และข้อที่มีคะแนนน้อยที่สุดคือจัดอบรมและฝึกซ้อมหนีภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ไฟไหม้ แผ่นดินไหวอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.87 3. ด้านกระบวนการผลิตและสภาพแวดล้อมในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.37 ข้อที่คะแนนสูงสุดคือจัดตารางและมอบหมายผู้รับผิดชอบคอยบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่ในระดับดี มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.51 รองลงมา จัดตารางและมอบหมายผู้รับผิดชอบคอยตรวจสอบอุปกรณ์กั้นเขตพื้นที่อันตรายให้สามารถป้องกันอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.47 รองลงมาจัดตารางและมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบคอยตรวจสอบให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้กับพนักงาน อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.46 และข้อที่มีคะแนนน้อยที่สุดคือจัดตารางและมอบหมายผู้รับผิดชอบคอยตรวจสอบระบบสัญญาณเตือนภัยต่างๆ เช่นไฟไหม้ แผ่นดินไหว สารเคมีรั่ว อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.26 ในด้านการวางแผนของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสู่ SMEs มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.89 อยู่ในระดับปานกลาง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือการจัดสถานที่ให้เหมาะสมกับการทำงานมีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.50อยู่ในระดับปานกลาง ในด้านคุณภาพและมาตรฐานของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสู่ SMEs มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.92 อยู่ในระดับปานกลาง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.81 อยู่ในระดับน้อย ด้านการบำรุงรักษาของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสู่ SMEs มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.43 อยู่ในระดับน้อย และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือคู่มือการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงที่ถูกต้องมีค่าคะแนนเฉลี่ย1.81 อยู่ในระดับน้อย ด้านสารสนเทศของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสู่ SMEs พบว่าโดยภาพรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.16 อยู่ในระดับน้อย และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการออกแบบสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้ามีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.59 อยู่ในระดับน้อย ด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงานและความปลอดภัยในการทำงานของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสู่ SMEs พบว่าโดยภาพรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.90 อยู่ในระดับปานกลาง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือปัญหาเสียงดังในการทำงานมีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.27 อยู่ในระดับน้อยที่สุด ปัญหาการผลิต พบว่า ในกระบวนการผลิตมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่มีการดำเนินการแก้ไขจำนวน 8 กลุ่มคิดเป็นร้อยละ 44.4 เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการผลิตไม่เพียงพอจำนวน 12 กลุ่มคิดเป็นร้อยละ 66.7 และเพียงพอจำนวน 6 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 33.3 เครื่องมือหลักที่ใช้ในการผลิต มีสภาพพอใช้จำนวน 11 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 61.1 และสภาพไม่พร้อมใช้งานจำนวน 3 กลุ่มคิดเป็นร้อยละ 16.7 อุปกรณ์หลักที่ใช้ในการผลิตมีสภาพพอใช้จำนวน 14 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ77.7รองลงมามีสภาพสมบูรณ์จำนวน 3 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ16.7 และสภาพไม่พร้อมใช้งานจำนวน 1กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 5.6 มีสถานที่เก็บวัตถุดิบในการผลิต จำนวน 15 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 83.3 และไม่มีสถานที่เก็บวัตถุดิบจำนวน 3 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 16.7 กำลังการผลิตต่อความต้องการของลูกค้า เพียงพอจำนวน 14 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 77.8 และไม่เพียงพอจำนวน 4 กลุ่มคิดเป็นร้อยละ 22.2 เทคโนโลยีคุณภาพและมาตรฐานมีการปฏิบัติงานมาก มีการส่งสินค้าเข้าประกวดจำนวน 14 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ77.8 และลำดับสุดท้ายมีสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 5.6 เทคโนโลยีการบำรุงรักษามีการปฏิบัติงานมากมีการตรวจเช็ดอุปกรณ์ก่อนการปฏิบัติงานจำนวน 9 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ50 และลำดับสุดท้าย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการบำรุงรักษาจำนวน 2 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ11.1 พบว่า มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการบำรุงรักษาจำนวน 13 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 72.2 และลำดับสุดท้ายมีการตรวจเช็ดอุปกรณ์ก่อนการปฏิบัติงาน มีการอบรมในการซ่อมบำรุงเครื่องมือ/เครื่องจักร มีการทำงบประมาณการซ่อมบำรุงมีคู่มือการใช้งานเครื่องมือซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง จำนวน 7 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 38.9 พบว่า มีการปฏิบัติงานน้อยมีการทำงบประมาณการซ่อมบำรุง จำนวน 8 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 44.4 และลำดับสุดท้ายมีการดูแลเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตมีการทำความสะอาดเครื่องมือก่อนใช้งาน จำนวน 1 กลุ่มคิดเป็นร้อย 5.6 พบว่า เทคโนโลยีการบำรุงรักษามีการปฏิบัติงานมาก มีปัญหาด้านอุณหภูมิในการทำงาน มีปัญหาด้านความร้อนในการทำงาน จำนวน 13กลุ่มคิดเป็นร้อยละ 72.2 และลำดับสุดท้าย มีปัญหาด้านมลภาวะทางน้ำจำนวน 1 กลุ่มคิดเป็นร้อยละ 55.6 พบว่า มีการปฏิบัติงานปานกลางมีการกำจัดขยะมูลฝอยหรือจัดเก็บอย่างถูกวิธีตำแหน่งความเหมาะสมของพื้นที่ในการจัดเก็บขยะจำนวน 10 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 55.6 และลำดับสุดท้ายมีมีปัญหาด้านอุณหภูมิในการทำงานจำนวน 3 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ16.7 พบว่าประชากร มีการปฏิบัติงานน้อย มีปัญหาด้านมลภาวะทางน้ำ มีแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน จำนวน10 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 55.6 และลำดับสุดท้ายมีปัญหาด้านความร้อนในการทำงานจำนวน 1 กลุ่มคิดเป็นร้อยละ 5.6 การประเมินการเรียนรู้การบริหารจัดการทัศนคติกระบวนการผลิตด้านความรู้ในการทำงาน พบว่า แนวคิดด้านการผลิตและการบริการอยู่ในระดับมาก ( =2.44, S.D =0.511) ลำดับสุดท้ายมีการศึกษาการออกแบบด้านผลิตภัณฑ์ ( =2.00, S.D =0.686) ด้านทักษะความสามารถในการทำงานด้านความรู้ในการทำงาน พบว่า ความสามารถในการปรับตัวได้เร็ว ความสามารถในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก ( =2.50, S.D =0.514) และลำดับสุดท้ายความสามารถในการเป็นผู้นำ ( =1.94, S.D =0.639) เจตคติในการทำงาน พบว่า มีความภาคภูมิใจในตัวเองอยู่ในระดับมาก ( =2.50, S.D =0.461) และลำดับสุดท้ายมีการค้นคว้าหาข้อมูลใหม่ ( =2.39, S.D=0.608 ) ความคิดด้านเพิ่มมูลค่าสินค้า อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.28, S.D =0.669) และลำดับสุดท้ายการให้บริการอยู่ในจิตสำนึก คิดการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มอื่น( =2.00, S.D=0.686)
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1354
Appears in Collections:แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560

Files in This Item:

File Description SizeFormat
00.ปก.docxปก37.51 kBMicrosoft Word XMLView/Open
01 ปกใน.docปกใน27 kBMicrosoft WordView/Open
02 บทคัดย่อ ก-จ .docบทคัดย่อ80.5 kBMicrosoft WordView/Open
03.abstract ฉ-ฌ.docAbstract41.5 kBMicrosoft WordView/Open
04 กิตติกรรม ญ.docกิติกรรมประกาศ39.5 kBMicrosoft WordView/Open
05 สารบัญ ฎ-ฏ.docสารบัญ74.5 kBMicrosoft WordView/Open
06 สารบัญภาพ ฐ-ฑ.docสารบัญภาพ71 kBMicrosoft WordView/Open
07 สารบัญตาราง ฒ-ต.docสารบัญตาราง100 kBMicrosoft WordView/Open
08.บทที่ 1 1-8.docบทที่1103 kBMicrosoft WordView/Open
09.บทที่ 2 9-57.docบทที่2707.5 kBMicrosoft WordView/Open
10.บทที่ 3 58-69.docบทที่3132 kBMicrosoft WordView/Open
11.บทที่ 4 70-143.docบทที่47.68 MBMicrosoft WordView/Open
12. บทที่ 5 144-177.docบทที่5888.5 kBMicrosoft WordView/Open
13.บรรณานุกรม 178-182.docxบรรณานุกรม38.76 kBMicrosoft Word XMLView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback