Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2559 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2559 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1338
|
Title: | กลยุทธ์การจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคและ บริโภค อย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | เกษมสวัสดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรีสุวรรณ ชูอินทร์, รองศาสตราจารย์ศิวพันธุ์ แจ่มพงษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ วรชัยรุ่งเรือง, อาจารย์มรกต ธนกุลวุฒิโรจน์, นางสาวกันยพัชร์ แซ่โง้ว, นายพรเพิ่ม |
Issue Date: | 23-Jan-2019 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี2559; |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องกลยุทธ์การจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุโภคและบริโภคอย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหากลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยชุมชนมีส่วนร่วมและสร้างฐานข้อมูลคุณภาพน้ำผิวดินในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 โครงการย่อย ได้แก่ ความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำผิวดินกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุโภคและบริโภคในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ความต้องการของชุมชนในการจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุโภค บริโภคอย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศแบบมีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูลคุณภาพน้ำผิวดินในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนตุลาคม 2558 เดือนกรกฎาคม 2559
ผลการศึกษาพบว่าแหล่งน้ำในพื้นที่สวนมีคุณภาพดีกว่าในพื้นที่ชุมชน โดยพบว่าในพื้นที่สวนคุณภาพน้ำอยู่ในระดับดีร้อยละ 2.5 และพอใช้ร้อยละ 7.5 และพบคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมร้อยละ 90.0 ไม่พบระดับที่เสื่อมโทรมมาก ส่วนในพื้นที่ชุมชนคุณภาพน้ำอยู่ในระดับพอใช้ร้อยละ 5.6 พบคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมร้อยละ 91.7 และคุณภาพอยู่ในระดับเสื่อมโทรมมากร้อยละ 2.8 ไม่พบคุณภาพน้ำในระดับดี สำหรับภาพรวมพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนในอำเภออัมพวา พบว่า ประชาชนส่วนมาก (ร้อยละ 61.2) มีส่วนร่วมในระดับปานกลางทั้งนี้ผลจากการศึกษาพบว่าปัจจัยด้าน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภออัมพวา ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินและความตระหนักต่อปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินของประชาชนชาวอำเภออัมพวาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
สำหรับปัญหาการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ3.33 และระดับความต้องการของชุมชนในการจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคบริโภคในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.02 ส่วนรูปแบบเชิงพื้นที่ของคุณภาพน้ำผิวดินในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตำบลที่มีแหล่งน้ำผิวดินที่ใช้อุปโภคบริโภคมากที่สุด คือ ตำบลท่าคา เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและมีการกระจายตัวของพื้นที่ชุมชนหรือเขตที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น ส่วนพื้นที่เกษตรกรรมที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำแม่กลองและมีแหล่งท่องเที่ยวอาทิ เช่น ตลาดน้ำอัมพวา บ้านพักและรีสอร์ต รวมทั้งพื้นที่ดังกล่าว มีการกระจุกตัวของพื้นที่ชุมชนหรือเขตที่อยู่อาศัย ส่วนตำบลบางช้างเสื่อมโทรมมากกว่า พื้นที่อื่นๆ ในอำเภออัมพวา
กลยุทธ์การจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามผลการประชุมกลุ่มย่อยโดยการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติดำเนินการโดยบำบัดโดยบ่อดักไขมันก่อน ทำแปลงพืชดูดซับน้ำเสียก่อน และนำไปรดต้นไม้แทนการทิ้งในแหล่งน้ำ ความต้องการของชุมชนในการจัดการน้ำผิวดินโดยทำเขื่อนกั้นขยะ ออกเทศบัญญัติแก่รีสอร์ท โฮมสเตรย์ สร้างการมีส่วนร่วม/ความ ตระหนัก และเก็บค่าใช้จ่ายในการปล่อยน้ำทิ้ง ปัญหาการใช้น้ำในชุมชนเกิดจากน้ำเค็มหนุน น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสีย น้ำไม่พอใช้ในฤดูแล้งและน้ำมีขยะแขวนลอยจำนวนมาก ชุมชนมีความต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำด้วยวิธีการสร้างองค์ความรู้เรื่องน้ำ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการและสร้างความตระหนัก/การมีส่วนร่วม ชุมชนมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยร่วมสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ขอความช่วยเหลือจากองค์กรที่ดูแลแหล่งน้ำมาตรวจคุณภาพน้ำ ไม่ทิ้งขยะต่างๆลงในแหล่งน้ำและสอดส่องปกป้องแหล่งน้ำของตนเอง วิธีการของชุมชนในการจัดการคุณภาพน้ำผิวดินให้เกิดความยั่งยืนโดยสร้างความตระหนัก การมีส่วนร่วม สร้างจิตอาสา ใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและกำหนดแหล่งการปล่อยมลพิษลงสู่แหล่งน้ำโดยใช้ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1338 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2559
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|