Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2553 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/12
|
Title: | ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มของการคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล เชิงธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการและชุมชน ในเขตจังหวัดภาคกลางของประเทศไทย |
Authors: | ศิรภัทร์ธาดา, ญาณัญฎา |
Keywords: | การสร้างมูลค่าเพิ่ม การคัดแยกขยะ รีไซเคิล ผู้ประกอบการ |
Issue Date: | 4-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2553; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม (Policy Participation Action Research : PAR ) ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัย 2 วิธี คือ เชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการในปีงบประมาณ 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ศึกษาวิธีการ, ปัญหา, และอุปสรรคตลอดจนบทบาทการสนับสนุนและการพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐ 2) เพื่อหาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาผู้ประกอบการและชุมชนในเขตจังหวัดภาคกลางของประเทศไทย ในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว นำมาแก้ไขปัญหาและสร้างแผนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจให้มีภูมิคุ้มกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ประกอบการและชุมชนตลอดจนภาครัฐให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นเครือข่ายผู้ประกอบการของโรงงานคัดแยกขยะวงษ์พาณิชย์ ผู้ประกอบการธุรกิจรีไซเคิลทั่วไปที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจ จากกรมการปกครอง รวมทั้งสิ้น 1,079 คนในจังหวัดนำร่องของการศึกษาจำนวน 8 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, นครสวรรค์, นครปฐม, สมุทรปราการ, สุพรรณบุรี และพิษณุโลกได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling)
การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal interview) และการสนทนากลุ่ฒ (Focus group) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ประกอบการธุรกิจค้า
ของเก่า องค์กรธุรกิจในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลุ่มเป้าหมายสำหรับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 50 คน และทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจรีไซเคิลจำนวน 8 จังหวัดและ จ.พิษณุโลก (นำร่อง) ได้มาโดยการสุ่มแบบโควต้า (Quota sampling)
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) คำนวณค่าสถิติเป็นร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนการวิเคราห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
แนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ประกอบการและชุมชนและภาครัฐ มีดังนี้
ระยะสั้น (1ปี) แก้ปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรและแรงงาน, เร่งลดภาระหนี้ของกิจการ สร้างระบบคุณภาพของกิจการ, ระบบการบริหารสินค้าคงคลัง, โลจิสติกส์, จัดหาแหล่งเงินทุนที่มีดอกเบี้ยตํ่า, รวมตัวกันจัดส่งสินค้าวัสดุรีไซเคิลและการร่วมมือด้านข้อมูลข่าวสาร
ระยะปานกลาง (2-3ปี) พัฒนาเทคโนโลยี เครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อการรีไซเคิล, ศูนย์อบรมผู้ประกอบการรุ่นใหม่, สร้างศูนย์กลางเครือข่ายผู้ประกอบการค้าวัสดุรีไซเคิลเพื่อช่วยเหลือกัน
ระยะยาว (5ปี) มีแผนจัดหาตลาดส่งขายสินค้าหรือขยายตลาดเพิ่มขึ้นทั้งใน และต่างประเทศ ขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลด้านการตลาดและการส่งออก สินค้าวัสดุรีไซเคิล และขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลด้านการพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องจักรและอุปกรณ์
ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล
1. พัฒนาและยกระดับธุรกิจรีไซเคิลไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2. สร้างความเข้มแข็งของธุรกิจรีไซเคิลให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
3. พัฒนาและยกระดับธุรกิจรีไซเคิลไทยเป็นศูนย์กลางการกระจายวัสดุรีไซเคิลสู่ตลาด ต่างประเทศ
4. เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการธุรกิจรีไซเคิลไทย
5. เปลี่ยนบทบาทรัฐ เร่งแก้ไขมาตรการปัจจุบัน เร่งสร้างความเชื่อมั่นกลับคืน
ข้อเสนอแนะ
จากข้อค้นพบและการอภิปรายผลการวิจัยเรื่องนี้ จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้รัฐบาลกำหนดเป็นแนวทางการบริหารหรือนโยบายเร่งด่วน ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมทั้งประเภทและอัตราภาษี
2. ควบคุมผู้ร่วมค้าในธุรกิจรีไซเคิลในการทำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา มีการเปิดประมูลอย่างเสรี ไม่มีอำนาจมืดแอบแฝง
3. จัดหาแหล่งตลาดและโรงงานรับซื้อที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานของราคา มีการประกันราคา
4. สนับสนุนให้ธุรกิจรีไซเคิลให้มีโอกาสเข้าถึงการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินภาครัฐ5. จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่าเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจรีไซเคิล
6. แก้ปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าว เช่นขยายระยะเวลาการเปิดให้ลงทะเบียนได้นานมากขึ้น
7. สนับสนุนด้านการวิจัยเทคโนโลยี, สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเป็นอุปกรณ์เป็นเครื่องมือตรวจพิสูจน์ คัดแยก จำแนกประเภทวัดุรีไซเคิลและด้านขนส่งและด้านโลจิสติกส์ (Logistics)
8. ส่งเสริมการอบรมการพัฒนาให้ความรู้แก่ธุรกิจรีไซเคิลด้านการทำตลาด Online
9. สร้างโมเดลควบคุมการจัดตั้งธุรกิจธุรกิจรีไซเคิล รับใบอนุญาตในการประกอบการ (License) ทั้งสถานประกอบการและผู้ประกอบการ
10. ส่งเสริมให้มีการก่อตั้งอุตสาหกรรมรีไซเคิล สำหรับประเทศไทย
11. รณรงค์ให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบคือไม่ขอรับใบอนุญาต ให้เข้าสู่ระบบให้มากขึ้น
12. การบูรณาหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการและดูแล รับผิดชอบในระดับกระทรวง กรม และกรุงเทพมหานคร |
Description: | งานวิจัยงบประมาณภายนอก ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/12 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2553
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|